การบรรเลงครั้งนี้ ไม่มีเครื่องกำกับจังหวะอย่างฉิ่งกลอง ทั้งๆที่มีปรากฏในรูปถ่ายดั้งเดิม อาจเป็นเพราะช่วงความถี่ที่ไม่สามารถบันทึกลงไปได้ละเอียด หรือเพราะผู้บันทึกต้องการศึกษา แนวทำนองและระดับเสียงของดนตรีไทยเป็นหลักมากกว่า
ระดับเสียงที่ใช้ เป็นเสียงไทยรุ่นเก่าที่แบ่งช่วงห่างเป็นระยะเท่า? เสียงโดยรวมต่ำกว่าความถี่มาตรฐานที่มีการวัดระบบกันในชั้นหลัง ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะวงรอบของกา รหมุนของกระบอกเสียงขี้ผึ้งหรือ การเทียบเสียงที่จงใจให้เป็นเช่นนั้น
มีโครงสร้างทำนองที่น่าสังเกตหลายช่วง
1.? ท่อนแรก เปิดหัวเพลงแล้วเข้าวรรคท้ายเลย
2. ท่อนสอง ทำนองมือฆ้องต่างจากปัจจุบันมาก มีสะดุดหยุดบ้าง ไม่แน่ใจว่าเจตนาหรือเป็นทางเก่า
3. ท่อนสาม อิงทางร้องมาก เข้ากับเนื้อร้องเก่าดั้งเดิม และมีการแปรทำนองของระนาดเอกที่ สังเกตเห็นได้
เรื่องระดับเสียงที่ใช้ในการบันทึก เพลงนี้ใช้ระดับเสียงเพียงออล่าง
โทนิคตรงกับเสียงฟาในปี่พาทย์ บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ไม้นวม
เพลงลาวคำหอมแตกต่างจากทำนองเพลงลาวคำหอมที่ ได้ยินได้ฟังกันในทุกวันนี้ เข้าใจว่าเป็นทางโบราณที่ครูแปลก หรือพระยาประสานดุริยศัพท์? (แปลก ประสานศัพท์) นำต้นเค้าทำนองการร้องลำสักรวาของจ่าเผ่นผยองยิ่ง (จ่าโคม) ครูสักรวาในสมัยต้นรัตน โกสินทร์ได้แต่งขึ้นไว้ก่อน บางทีก็เรียกว่าลาวปทุมมาลย์
เอื้อเฟื้อข้อมูลประกอบคลิปโดย: อาจารย์อานันท์ นาคคง หรือ annkannk1