Key Words : ตะกร้อ นายแดง นกหวีด ACME
kajoe เขียน:ตะกร้อนายยอด หวายสิบเอ็ดเส้น สุดยอดตะกร้อของไทย ในครั้งเก่า
ส่วนหวายแปดเส้น อ่ะม่ายรู้เหมือนกัน ให้ผู้หญิงเล่นม้างงงงงงงงงง
สมัย พ.ศ. 2502 ยังใช้หวายเส้นใหญ่แค่ 7-8 เส้นสานเป็นตะกร้อ ไม่มี 11 เส้นแน่นอน
ผมอายุ 12 โตพอรู้เรื่อง แถมที่ร้าน ตจว. ขายเครื่องกีฬาทุกชนิดอีกด้วย ต้องขายของทุกเย็น
ตะกร้อซ้อมและเตะเล่นลานวัด หวายเส้นเล็กกว่า 7 เส้น ยังไม่นวด ต้องไปนวดเอาเอง
ตะกร้อแข่ง หวายเส้นใหญ่มาตรฐาน 8 เส้น ทาสีแดงด้านข้างสองเส้นนอกสุด
ปั๊มตรายางหมีกน้ำเงินข้อความ "ตะกร้อนายแดง" ในวงรีรูปไข่ที่หน้าหวาย 8 เส้น
ต่อมามีเลียนแบบชื่อนายดีและนายอื่นๆ ทาสีแดงเอาอย่าง ออกมาอีกหลายยี่ห้อ
แต่ไม่มีใครกินตะกร้อนายแดงลงสักเจ้า ครองแช็มป์มานานหลายสิบปี
ถ้าจำไม่ผิด ช่วงที่ผมเข้ามาเรียนที่ กทม. มีการอัพเกรดเป็น 9 เส้นหรือไงเนี่ย
ตอนราว พ.ศ. 2506 ตะกร้อซ้อมลูกละ 7 บาท ตะกร้อนายแดงลูกละ 32 บาท
ตะกร้อซ้อม ใช้หวายร้อยเป็นพวงๆ ละ 15-20 ลูกแขวนไว้ให้เลือก
ใครเลือกลูกกลางๆ พวง ก็ต้องเทออกมาแล้วร้อยเข้าไปใหม่ ร้อยเข้าเทออกทุกเย็น
ต่อมาเลยจับผูกเชือกเป็นลูกๆ แขวนเป็นพวง เลือกลูกไหนก็ตัดเชือกลูกนั้น
ตะกร้อนายแดงใส่ถุงพลาสติกไล่ลมออกรัดลูกทุกลูก แขวนด้วยเชือกสั้นๆ เป็นพวง
ที่ต้องใส่ถุง เพื่อเพิ่มมูลค่า และกันน้ำมันนวดระเหย กันฝุ่นอีกด้วย
การนวดตะกร้อ เท่าที่ฟังคนเล่นเล่าให้ฟัง ต้องเอาไปต้มและทุบ
แถมยังต้องต้มกับน้ำมันบางชนิดอีกด้วย และนวดจนนุ่มลง
แต่ตะกร้อซ้อมสำหรับเล่นลานวัด น้ำหนักเบา ไม่เจ็บ จึงไม่ค่อยนวดกัน
เตะไปโหม่งไป นิ่มลงคาเท้าเองครับ
สุดยอดนกหวีดสมัยนั้นต้อง ยี่ห้อ ACME อ่านว่า แอ๊คมี่ ของอังกฤษ มี 2 ขนาด ใหญ่-เล็ก
ที่ราคาถูกหน่อย จำตราหรือยี่ห้อไม่ได้ น่าจะเป็นตราดาว ของจีนหรือฮ่องกงนี่แหละ
คุณภาพและราคาต่างกันแยะ ต่อมามี ACME ของอินเดีย ราคาถูกลงเข้ามาข่ยด้วย