นักสะสมที่มีประสบการณ์จากงานสะสมอื่นๆมาแล้ว ต่างก็มีวิธีเริ่มสะสมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตัวเอง สำหรับผู้ที่คิดจะเริ่มสะสมธนบัตรใหม่นั้น ผมมีข้อแนะนำเพื่อเป็นแนวทางปฎิบัติดังนี้
ขั้นเตรียมความพร้อมก่อนออกสู่ยุทธภพ
1.หาซื้อคู่มือสะสมธนบัตรไทย ของใครแต่งก็ได้แล้วแต่ท่านชอบด้วยราคาและภาพสวยงามถูกใจ
-เพื่อท่านจะได้เห็นรูปร่าง ขนาด สีธนบัตร ราคาซื้อขาย (ซื้อกันจริงๆจะต่ำกว่าคู่มือเสมอ แต่ถ้าเดินไปร้านคนแต่งตำราแล้วขายธนบัตรด้วยจะโดนหวดอย่างแรง บางใบจะแพงกว่าราคาอ้างอิง ด้วยคำง่ายๆ ? ตัวนี้สวยกิ๊บเลยนะหายาก ราคาย่อมสูงกว่าคุ่มือ ต่อให้คุณตระเวนหาก็ไม่เจอสภาพนี้หรอก? ท่านจงนึกในใจว่า ? ธนบัตรพิมพ์กันเป็นแสน-ล้านใบ จริงอยู่นะเวลานี้มันมีฉบับนี้ที่สวยงามจริง(หรือล้างตัดแต่งมาหรือเปล่าก็ไม่ทราบ) จงอย่ารีบกระโจนเข้าใส่ ของแบบนี้มันสมบัติผลัดกันชม เดี่ยวก็มีของออกมาอีก อาจต้องรอ 4-5ปี แต่ได้ราคาที่ถูกกว่าซื้อ ณ.นาทีนั้นด้วยซ้ำไป?
2. เริ่มหาซื้อหนังสือเก่าเกี่ยวกับธนบัตรมาอ่านจะได้รู้ว่าแต่ละรุ่นเขาพิมพ์กันแบบไหน กระดาษอะไร หมวดไหนบ้างที่พิมพ์ใช้จริง จุดปลอมจะสังเกตตรงไหนบ้าง อันนี้ต้องอ่านแล้วตีความเองนะท่านเพราะตำราบางเล่มก็เขียนมั่วก็มี ต้องอ่านหลายเล่มมาเทียบคียงกัน
3. ออกเดินดูตามตลาดนัดต่างๆพูดคุยกะพ่อค้า(ห้ามซื้อของในช่วงนี้นะครับ) สอบถาม ก็จะได้ความรู้แบบ 50:50 มาพอเข้าเค้าเรื่องราคาโดยเฉลี่ย จุดดูเล็กน้อย(เขาไม่บอกจุดตายในการดูแน่นอน) บางทีท่านก็อาจได้พบปะนักสะสมรุ่นต่างๆมาซื้อหาธนบัตร ก็ควรไปพูดคุยทำความรุ้จัก ท่านก็จะได้ความรุ้มาประดับเพิ่มอีกแถมได้เพื่อนต่างอาชีพเพิ่มขึ้นอีก ถ้าเกิดคุยถูกคออัธยาศัยดี อาจได้ธนบัตรรุ่น 12-14 ในราคาเท่าหน้าธนบัตรหรือไม่แพงมาก(จะได้ในคราวต่อๆไปนะคร้าบ ไม่ใช่เจอกันครั้งแรกก็ได้เลย)
4.ท่านก็จะพอทราบคร่าวๆแล้วว่าที่ไหนเขามีการซื้อขายธนบัตรกันบ้าง (แต่ละที่จะมีราคาและธนบัตรที่แตกต่างกันมาก บางแห่งก็จะมีแต่สภาพไม่ดีราคาแพง ไว้ขายพวกมือใหม่ จงอย่าเห็นว่าเงินแค่หลักร้อยหลักพันได้ธนบัตรยุค ร6-8 มา แล้วควักกระเป๋าซื้อโดยเด็ดขาด เพราะพวกนี้จะสภาพไม่ดีหรือผ่านการตกแต่ง เช่น ล้าง ตัดขอบ ทำให้ดูงามขึ้น แต่เวลาขายออก แทบจะไม่มีคนรับซื้อเลย หรือซื้อก็ถูกมากๆ เรียกว่าขาดทุนเละเทะ แทบจะเอาเท้าก่ายหน้าผาก+หลังกาหลัง 3ตลบ )
5.กลับบ้านมาอ่านตำราเปรียบเทียบดูราคาสภาพ กับของที่ผ่านตามา ค่อยตัดสินใจต่อไป
