ขอแสดงความเห็นนิดนึงครับ ในฐานะที่ผมชอบสะสมและศึกษากระบวนการผลิต+ประวัติศาสตร์ของสิ่งสะสมควบคู่กันเสมอ
1.การสะสมควรมีจุดประสงค์ให้แน่ชัดก่อนว่าจะสะสมแบบใดหัวข้อใดแล้วก็ลงศึกษาข้อมูลในด้านนั้นก่อนจะออกสู่สนามไปให้พ่อค้ามันฟันกะบาล

ถ้าไม่ศึกษาให้ถ่องแท้ดุ่ยไปตามคำบอกเล่าอันน้อยนิดก็อาจจ่ายบทเรียนราคาแพง แถมพกความทุกข์ใจกลับบ้าน ซึ่งผิดหลักของงานสะสมเพื่อเป็นงานอดิเรกอย่างยิ่ง เพราะงานอดิเรกสะสมแล้วต้องมีความสุขให้แก่เรา
2.นักสะสมที่ว่าดังๆในวงการผมก็เห้นตกม้าตายกันมาหลายๆ ของเก้ดูเป็นจริง จริงว่าเก้ (ไม่รุ้ปั่นของตัวเองในสต็อคอะป่าว)
3.พวกตลกบางอย่าง เขาเรียกว่า waste ตามใบสั่ง มีคนไม่รุ้แต่มีทรัพย์มากสู้ในราคาสูงลิบก็มี ผมยกตัวอย่าง พวกธนบัตรไม่มีลายเซนต์ไม่มีหมวดและหมายเลข แบบ 9 ก็ได้ ถ้าท่านใด เคยเล่นพวกเวปประมูลทต่างประเทศหรือเข้างานประมูลของใหญ่จะเห็นบ่อยๆมาก ราคาตอนออกตัวแรงมาก พอคนเริ่มนิยมของเริ่มทะลักมากันเป็นริมๆ ไม่ผิดหรอกครับเป็นริม ไม่ใช่เป็นใบ มีทั้งชิดขอบล่าง ขอบซ้าย ติดลายเซ้นต์(ใครก็มิทราบ เซนต์ให้ขลัง อิอิ) ในทางกลับกัน ถ้าเราย้อนกลับมาศึกษาประวัติธนบัตรชุดนี้ จะพบว่ามันคือธนบัตร ที่บ.โทมัส พิมพ์ที่ร่างกุ้งแล้วธปทตรวจพบจึงสั่งให้หยุดผลิต บ.จึงนำกระดาษทั้งที่พิมพ์เสร็จแล้วบางส่วนหรือไม่ครบกลับ หรือคืนกลับเข้ามาก็มี ปริมาณมันมหาศาล
4.ตลกย่อส่วน เช่น ลักษณะทางกายภาพเหมือนของจริงแต่ย่อส่วนให้เล็กลง ซื้อขายกันใบละหลายหมื่น แบบนี้ปลอม,าขายกันชัวร์ เพราะทุกใบสีจะเลือนๆ ไม่คมชัด เส้นไม่นูน
5.ตลกสีขาด เลขหาย พวกนี้พบในแสตม์ป พวกสีเงาๆทั้งหลาย เช่น ชุดรัชดาภิเษก2514 วันเด็ก2525-26 (มีการใช้น้ำยาลบ และทำกาวใหม่ หรือถ้าเป็นใช้แล้วก็หวานเลย พวกธนบัตรก็พบบ่อยในแบบ 13 ลงมา เลขลบไปสีบางส่วนหายไป พวกนี้อัพราคาได้สูงมาก
6.พวกกาวทำใหม่ ตบตาคนมีเงินใจเร็ว เช่น ร9.ชุด1-3 มนังคศิลา พวกนี้งานเนียนมาก ที่ร้ายกว่าก็พวกตัวแก้พระตะบอง แสตม์ปจริงแต่แก้ปลอม บางดวงขนาดสมาคมสะสมแสตม์ปของอังกฤษที่ขึ้นชื่อเรื่องการตรวจสอบยังรับรองแค่ตัวแสตม์ปแต่ไม่กล้ารับรองหมึกที่แก้เลย
7.ที่พ่อค้าพวกนี้ดำรงอยู่ได้เพราะ
เขาเข้าใจสัจธรรมของนักสะสมอยู่ 1คำ คือ
ความทะเยอทะยาน ความอยากมีอยากได้ ยิ่งมีของหายาก แปลกพิศดาร ก็จะภูมิใจมาก เลยเกิดกระบวนการปลอมกันมามากกมาย
ถ้าเราเข้าใจหลักของการสะสมจริงๆ ลดความอยากเป็นหนึ่งเดียว อยากแข่งขัน อยากเก็งกำไรลงบ้าง หันมาสะสมแนวศึกษาข้อมูลให้เป้นประโยน์แก่อนุชนรุ่นหลัง แก่ประเทศชาติ เผยแพร่ความรุ้กัน จะดีมากกว่า เมื่อไม่มีคนซื้อของปลอมหรือเล่นของพิศดารมากนัก ราคามันก็จะลดลงและสุญหายไปในที่สุด
8.พวกปรู๊ฟ แสตม์ป และธนบัตรก็เช่นกัน ราคาไม่นิ่งเรียกกันแพงมหาศาล ทั้งที่จริงแล้ว บ.โทมัส นำปรุ๊ฟวอลเตอร์โลว์ ออกขายในราคาชุดหนึงประกอบด้วปรุ๊ฟคละๆกันๆม่ถึง 10ปอนด์ (ในปี 1960 ) แทบไม่มีคนเอา มีแต่ฝรั่งขนซื้อไป คนไทยบางคนไปต่างประเทศก็ซื้อเข้ามาบ้างเพราะถุกมาก ปัจุบัน กลับกลายมีปรุฟปลอมตรายางกันให้เกร่อ ใบละ7-8หมื่น ของเหล่านี้ถ้าได้มาในราคาสมเหตุผลก็พอรับได้ แต่ถ้าเขาวิ่งชนเพื่อครองมันผมไม่เห้นด้วย ผมเคยพบนักสะสม2-3ท่าน เก็บแต่ปรุฟ และพวกของแปลกๆ ที่มีที่มาไม่แน่ชัดหมด เงินไปไม่ตำกว่า 100 ล้าน แต่เขาก็ภูมิใจ ที่ได้เสียเงินได้ของแปลกมาครอบครอง
สรุป 1.โดยส่วนตัวผมแล้วจะไม่ซื้ออะไรที่มันมีประวัติไม่แน่ชัด มาเด็ดขาด และผมสนุกกับการศึกษาประวัติศาสตร์ของมันมากกว่าการมีในครอบครองทุกชิ้นๆ

2.กรณ๊ผมชอบสะสมแสตม์ปยุคคลาสสิค(พระรูป ร5-9) ซึ่งร.5จะมีตัวแก้มากมาย แถมยังมีปลอม มีตลกอีกบานตะเกียง และธนบัตรไทยทุกรุ่น ผมก็จะแสวงหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาศึกษา ตั้งแต่หนังสือเกี่ยวกับแสตม์ปไทย ที่ฝรั่งเขียน มาศึกษาเปรีษยเทียบ จนเอกสารอ้างอิงจากทางราชการ จนกลายเป้นว่าตอนนี้ที่บ้านมีหนังโบราณที่หายากเกี่ยวกับแสตม์ปและธนบัตรมากมาย ก็เท่ากับว่าเราสะสมหนังสือเก่าๆควบคู่ไปด้วย และได้ความรู้แตกฉาน เวลาจะซื้ออะไรจะได้สบายใจขึ้นมาระดับหนึ่ง