cokeyuth เขียน: ตังเมแบบเหลว ตาแป๊ะจะหาบมา พร้อมกับกรรไกรอันนึง ไม้เสียบอันนึง
แล้วแกก็จะทำให้ตังเมมันร้อนขึ้นนิดๆ ให้กึ่งแข็งกึ่งเหลว ให้มันหนืดๆ
แล้วก็ใช้ความเร็วในการประดิษฐ์ตังเมหนืดๆให้เป็นรูปต่างๆ
รูปฮิต เรตติ้งสูงสุด เห็นจะได้แก่ รูปลิงนั่งอยู่บนปลายไม้แล้วถือเบ็ดตกปลา
หรืออาจจะทำรูปอื่นๆ ตามแต่เด็กๆจะร้องขอ
ถ้าวิจิตรพิศดาร ก็แพงหน่อยละ
อันนี้ไม่น่าจะจัดเป็นตังเมมั้ง มันเป็นน้ำตาลผสมสีมากกว่า บ้านผมคนไทยหนุ่มๆ ขาย
มีสีแดง-เขียว และขาว ใส่กระทะทองเหลืองก้นลึกกั้นเป็นสามช่อง ตั้งบนเตาไฟอ่อนๆ
บ้านผมจะเรียกน้ำตาลปั้น น้ำตาลเป่า หรืออะไรเทือกนี้
ตังเมสีขาวขุ่น น่าจะมีส่วนผสมอื่นรวมทั้งนมข้นหวานและแบะแซ (ไม่แน่ใจนะ)
ที่ต่างกันเห็นชัดอีกอย่างคือ อ่อนยืดได้โดยไม่ต้องอุ่นตลอดเวลาด้วยเตาไฟ
แต่ห่ออยู่ในผ้าพลาสติกกันแห้งหรือแข็ง ส่วนมากเป็นสีน้ำเงิน ไม่รู้ว่าเป็นเพราะอะไร
ส่วนที่แป๊ะขาย จะเป็นตังเมแข็ง ใส่ถาดกลมสูง 2 นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลางราว 1 1/2 ฟุต
มีผ้าขาวบางคลุมกันฝุ่นและเก็บความชื้น แป๊ะจะเทินหัวเดินขาย
ส่วนอาวุธที่ใช้รบกับตังเม มีแผ่นเหล็กปลายด้านหนึ่งข้อนข้างคม คล้ายใบกบใสไม้
และเหล็กกลมๆ เหมือนเหล็กเคาะระฆังแขกยามอีกแท่ง
ใช้เหล็กใบกบวางลงบนตังเมให้ได้ความกว้างประมาณครึ่งนิ้ว เหล็กเคาะระฆังเคาะเบาะ
ตังเมจะหลุดเป็นเส้นสั้นๆ ความยาวเท่าหน้าใบกบ
ถ้าจะให้ยาวกว่านี้ก็เคาะลงน้ำหนักเบาๆ ไม่ให้ปลายขาด แล้วสะกัดช่วงต่อไปจนพอใจ
ตังเมประเภทนี้รสชาติต่างกับตังเมหลอด อร่อยและละเมียดละไมกว่าครับ
เอกลักษณ์ที่สำคัญคือ เวลาเดินเทินถาด มือทั้งสองจะเคาะไม้ตีระฆังกับใบกบเป็นจังหวะเฉพาะตัวคล้ายรถขายเกี๊ยว
ย้อนกลับมาตังเมหลอด การตัดเป็นแท่ง ทางปากน้ำโพใช้กรรไกรก็มี
แต่ส่วนใหญ่จะใช้เด็ดด้วยมือ โดยจับส่วนโคนเมื่อปั้นได้ความยาวที่ต้องการแล้ว
ยืดออกมาอีกนิดหน่อย จิกไว้ แล้วสะบัดข้อมือขึ้น-ลง เบาๆ ก็จะหลุดออกมา
เรียกว่าใช้พลังฝ่ามือแบบดัชนีอะไรซักอย่างน่ะ
เวลาหมุนลูกศรเสี่งจำนวนแท่ง หากได้มากกว่าหนึ่ง เขาจะยืดให้ยาวผอมกว่าปกตินิดหน่อย
บ้านผมใจสปอร์ต สูงสุดมีถึง 10 แท่ง ใครหมุนได้พ่อยืดซะผอมเท่าตะเกียบได้มั้ง

พับทบไปทบมาจนได้จำนวนแท่งเท่าที่หมุนได้ แล้วสะบัดเด็ดหลุดในครั้งเดียว ห่อใบตองให้เลย
อีกอย่าง... บ้านผมออกเสียงฟังคล้าย "แตงเม" มากกว่า "ตังเม" ครับ

