TIPs เรื่องการดูเหรียญปลอม (หรือเหรียญของเล่น หรือเหรียญเก๊)

กระทู้ข้อมูลต่างๆจากเวบบอร์ดเก่า สามารถตอบกระทู้ได้นะครับ

โพสต์โดย ("\(*-*)/") » พุธ ก.ค. 29, 2009 11:09 pm

lekpn เขียน:อันนี้มันเหรียญเอ๊กซ์ซิบิชั่นไม่ใช่หลอครับ :sad: :sad:


โอว์ !!! พระเจ้าช่วย

ผมลงเหรียญที่ระลึกสำหรับพระราชทานผู้ช่วยในการแนชันนาลเอษฮีบิชัน ณ ท้องสนามหลวง เพื่อสมโภชกรุงเทพครบ ๑๐๐ ปี พ.ศ. ๒๔๒๕

แต่กลับพิมพ์ว่าเป็นเหรียญสตพรรษา ๕ รัชกาลซะนี่ เพราะตอนที่พิมพ์ดันไปนึกถึงเหรียญสตพรรษาทองแดงกะไหล่เงินของคุณต่อ ก็เลยเฟอะฟะไปกันใหญ่

ขอบคุณ คุณเล็กมากๆ ครับที่ช่วยดึงสติกลับมา เดี๋ยวกลับไปแก้คำอธิบายก่อนดีกว่า
<B>"ถ้าแผ่นดินแรกที่ตั้งไข่ย่ำ เป็นผืนเดียวกับแผ่นดินสุดท้ายที่ดินกลบหน้า...จงกตัญญูต่อแผ่นดินเกิด"</B>
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
("\(*-*)/")
 
โพสต์: 3005
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ พ.ย. 19, 2006 9:04 am
ที่อยู่: พิพิธภัณฑ์เครื่องเล่นกระบอกเสียงและหีบเสียงไทย (www.talkingmachine.org)

โพสต์โดย o_BANGKOKmuseum » พฤหัสฯ. ก.ค. 30, 2009 11:41 am


เป็นเทคนิคล้ำเลิศมากเลยค่ะ...หลอกให้มึน ...แต่ยากมากๆ ค่ะ เพราะคุณเล็กยังไม่มึน...555 :lol:


นุชยอมรับน่ะค่ะว่าดูเหรียญปลอมหรือจริงนั้นยากมากๆ โดนหลอกก็หลายครั้งแล้ว กว่าจะถึงบางอ้อก็เสียไปหลายอัฐอยู่ :-( :-( :-( จ้า



เข้าชมพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระนคร...โปรดกรุณาติดต่อ: 081-6233223 (นุช) ขอบคุณค่ะ
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
o_BANGKOKmuseum
 
โพสต์: 496
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ มี.ค. 19, 2008 6:09 pm
ที่อยู่: พิพิธภัณฑ์เฉลิมพระนคร (www.bangkokmuseum.org)

โพสต์โดย ("\(*-*)/") » พฤหัสฯ. ก.ค. 30, 2009 8:31 pm

BANGKOKmuseum เขียน:
เป็นเทคนิคล้ำเลิศมากเลยค่ะ...หลอกให้มึน ...แต่ยากมากๆ ค่ะ เพราะคุณเล็กยังไม่มึน...555 :lol:

นุชยอมรับน่ะค่ะว่าดูเหรียญปลอมหรือจริงนั้นยากมากๆ โดนหลอกก็หลายครั้งแล้ว กว่าจะถึงบางอ้อก็เสียไปหลายอัฐอยู่ :-( :-( :-( จ้


ความจริงคุณเล็กตาดีแบบนี้ น่าจะจัดให้คุณเล็กซักเหรียญ ถือเป็นการตบรางวัลดีมั้ยครับคุณนุช :evil: :x ;-)

โปรดติดตามTIP ที่ 3 เร็วๆ นี้นะครับ คราวนี้มาดูด้านข้างเหรียญกันบ้าง
<B>"ถ้าแผ่นดินแรกที่ตั้งไข่ย่ำ เป็นผืนเดียวกับแผ่นดินสุดท้ายที่ดินกลบหน้า...จงกตัญญูต่อแผ่นดินเกิด"</B>
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
("\(*-*)/")
 
โพสต์: 3005
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ พ.ย. 19, 2006 9:04 am
ที่อยู่: พิพิธภัณฑ์เครื่องเล่นกระบอกเสียงและหีบเสียงไทย (www.talkingmachine.org)

โพสต์โดย o_arale » พฤหัสฯ. ก.ค. 30, 2009 10:30 pm

:-) รอชมเพื่อเพิ่มความรู้ครับ...อาจารย์... 8)
เอก เชียงใหม่..081-4725350.. You'll Never Walk Alone..
ภาพประจำตัวสมาชิก
o_arale
 
โพสต์: 4315
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร พ.ย. 18, 2008 5:57 pm
ที่อยู่: 226/30 หมู่1 หมู่บ้านสิรารมย์ ต.หนองจ๊อม อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50210

โพสต์โดย ("\(*-*)/") » อาทิตย์ ส.ค. 02, 2009 3:15 pm

รูปนี้เป็นรูปขอบเหรียญทองแดงที่เป็นร่องรอยของการปริแยกแตกตามขอบ เพื่ออธิบายเพื่อเติมสำหรับ TIP ข้อที่ 2

โดยขอนำภาพขอบเหรียญทองแดงซึ่งเป็นเหรียญที่ระลึกในการบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อสมโภชกรุงเทพครบ ๑๐๐ ปี พ.ศ. ๒๔๒๕ (ภาพนี้เป็นภาพเหรียญของ"พิพิธภัณฑ์เหรียญที่ระลึกไทย www.thaimedals.com" โดยขอขอบคุณเวปพิพิธภัณฑ์เหรียญที่ระลึกไทยไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ)

รูปภาพ
<B>"ถ้าแผ่นดินแรกที่ตั้งไข่ย่ำ เป็นผืนเดียวกับแผ่นดินสุดท้ายที่ดินกลบหน้า...จงกตัญญูต่อแผ่นดินเกิด"</B>
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
("\(*-*)/")
 
โพสต์: 3005
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ พ.ย. 19, 2006 9:04 am
ที่อยู่: พิพิธภัณฑ์เครื่องเล่นกระบอกเสียงและหีบเสียงไทย (www.talkingmachine.org)

โพสต์โดย ("\(*-*)/") » จันทร์ ส.ค. 03, 2009 8:29 am

TIP ที่ 3 มาแล้วครับท่าน...

3. ลายเส้นรอบขอบเหรียญควรจะคมและเป็นเส้นเดียวโดดเด่น และผิวขอบเหรียญที่ยกนูนนั้นควรจะเรียบสม่ำเสมอตลอดรอบเหรียญ

ผิดครับ....

ลายเส้นที่วิ่งรอบขอบเหรียญปกติควรจะคมและมีความลึกเท่ากันตลอดรอบเหรียญ ไม่ใช่ลึกบ้าง ตื้นบ้าง ตามอารมณ์ผู้ที่สร้างเหรียญ!!!

และประการสำคัญของ TIP นี้ก็คือ ลายเส้นรอบขอบเหรียญของแท้มักมีมากกว่า 1 เส้น ส่วนเหรียญปลอมมักทำได้แค่เส้นเดียว เพราะถ้าทำเส้นมากกว่านั้น เมื่อบล๊อคเขยื้อน เส้นจะทับกัน เสียหายเลย

กรุณาดูตัวอย่างเรื่องลายเส้นรอบขอบของเหรียญพระแก้วมรกต 2475 เนื้อเงิน บล๊อคนอกหรือที่เรียกว่าบล๊อคเจนีวา ระหว่างเหรียญจริงกับเหรียญปลอมครับ

รูปภาพ

และสิ่งสำคัญของ TIP นี้ก็คือ.... ผิวขอบที่ยกนูนของเหรียญนั้น ไม่จำเป็นต้องเรียบสม่ำเสมอไปซะทุกชนิดเหรียญที่เราสะสม... ย้ำ!!! ผิวขอบที่ยกนูนของเหรียญนั้น ไม่จำเป็นต้องเรียบสม่ำเสมอไปซะทุกชนิดเหรียญที่เราสะสม

แล้วมันยังไง เอ๊ ชัก งง งง???

อย่างงี้ครับ คือขอบที่ยกโดยรอบของเหรียญนั้นบางชนิดของเหรียญมีทั้งขอบเรียบสม่ำเสมอและไม่เรียบนะครับ ไอ้ที่ไม่เรียบเนี่ย!!! มองตาเปล่าไม่เห็นนะครับท่าน ต้องใช้กล้องขยายส่องเหรียญเพ่งพินิจพิจารณาดูเท่านั้น โดยจะสังเกตุเห็นเป็นลายคล้ายฟันเฟือง ลักษณะตื้นๆ บางๆ ละเอียด ซึ่งถ้าเอามือลูบจะไม่มีทางรู้สึกได้เลย

กรุณาดูลายคล้ายฟันเฟือง ที่ขอบเหรียญซึ่งถูกขยายเท่ากับกล้องส่องพระชั้นดีนะครับ!!!

เหรียญดุษฎีมาลา หรือ เหรียญทรงยินดี พ.ศ. ๒๔๒๕

รูปภาพ

รูปภาพ

เหรียญที่ระลึกหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๒๕

รูปภาพ

รูปภาพ
<B>"ถ้าแผ่นดินแรกที่ตั้งไข่ย่ำ เป็นผืนเดียวกับแผ่นดินสุดท้ายที่ดินกลบหน้า...จงกตัญญูต่อแผ่นดินเกิด"</B>
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
("\(*-*)/")
 
โพสต์: 3005
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ พ.ย. 19, 2006 9:04 am
ที่อยู่: พิพิธภัณฑ์เครื่องเล่นกระบอกเสียงและหีบเสียงไทย (www.talkingmachine.org)

โพสต์โดย ("\(*-*)/") » จันทร์ ส.ค. 03, 2009 9:11 am

ขอต่อ TIP ที่ 4 เลยนะครับ เพราะผมเห็นว่าสำคัญและหลายๆ คนพูดผิด เพราะรู้มาผิด คราวนี้จะได้พูดถูกต้องกันซักที

4. มีนักสะสมเหรียญหลายท่านพูดว่า..."เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกก็คือส่วนหนึ่งของเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนนั่นเอง" และ "เหรียญที่ระลึก ก็คือส่วนหนึ่งของเหรียญกษาปณ์เพียงแต่ชำระหนี้ไม่ได้"

ผิดครับท่าน....

TIP ที่ 4 นี้จะเป็นเรื่องการจำแนกประเภทของเหรียญและความเข้าใจเรื่องBronze (เหรียญ เนื้อสำริด ) โดยข้อมูลทั้งหมดนี้ มาจากเวปสหายที่รัก "พิพิธภัณฑ์เหรียญที่ระลึกไทย" นั่นเองครับ กระผมขอกราบขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วย

การจำแนกประเภทของเหรียญ

1. เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน
ผลิตออกใช้สำหรับประชาชนได้มีไว้จับจ่ายใช้สอยเป็นเงินปลีกย่อยผลิตออกมาใช้ตามระบบเศรษฐกิจ สำหรับใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ปัจจุบันมี 8 ชนิดราคาคือ 1 สตางค์ 5 สตางค์ 10 สตางค์ 25 สตางค์ 50 สตางค์ 1 บาท 5 บาท 10 บาท เปลี่ยนศักราชบนหน้าเหรียญตามปีที่ผลิต

2. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก
ได้แก่ เหรียญกษาปณ์ที่ผลิตขึ้นเป็นครั้งคราวในโอกาสพิเศษที่สำคัญที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ บุคคลสำคัญ และเหตุการณ์สำคัญในบ้านเมือง
<B>"ถ้าแผ่นดินแรกที่ตั้งไข่ย่ำ เป็นผืนเดียวกับแผ่นดินสุดท้ายที่ดินกลบหน้า...จงกตัญญูต่อแผ่นดินเกิด"</B>
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
("\(*-*)/")
 
โพสต์: 3005
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ พ.ย. 19, 2006 9:04 am
ที่อยู่: พิพิธภัณฑ์เครื่องเล่นกระบอกเสียงและหีบเสียงไทย (www.talkingmachine.org)

โพสต์โดย ("\(*-*)/") » จันทร์ ส.ค. 03, 2009 9:28 am

ต่อ TIP ที่ 4 ครับ

นักสะสมเหรียญหลายคนพูดว่า...เนื้อทองแดงก็คือเนื้อบรอนซ์ และที่เรียกเนื้อบรอนซ์ก็คือเนื้อทองแดงนั่นเอง!!!

ผิดถนัดเลยครับท่าน....

เนื่องจากนักสะสมจำนวนมาก ยังมีความสับสนระหว่างเนื้อทองแดง และ Bronze (บรอนซ์) ซึ่งแปลเป็นไทยว่าเนื้อสำริด จึงขอนำบทความทางวิชาการ โดยสังเขป เกี่ยวกับ สำริด และโลหะผสมทองแดงประเภทต่างๆ รวมถึงวิธีดูแลรักษาวัสดุที่ทำจากโลหะผสมเหล่านี้ มาแสดงไว้ ณ ที่นี้

องค์ประกอบของสำริด

ตามความหมายที่แท้จริง สำริด คือ โลหะผสมที่มีทองแดงเป็นหลัก องค์ประกอบอื่นๆ คือดีบุกและตะกั่ว อาจมีเหล็ก อาร์ซีนิค สังกะสี เจือปนอยู่ด้วยเล็กน้อย แต่ในปัจจุบันความหมายของสำริดเปลี่ยนไป สำริดปัจจุบันหมายถึงโลหะผสมที่มีทองแดงเป็นหลัก องค์ประกอบอื่นๆ ได้แก่ สังกะสี เหล็ก ตะกั่ว ฟอสฟอรัส ซิลิคอน อาร์ซีนิค (สารหนู) บิสมัท อะลูมิเนียม ซึ่งนำไปใช้งานหลากหลายรูปแบบ ชนิดและปริมาณของโลหะอื่นๆ ที่ผสมในโลหะผสมของทองแดงส่งผลกระทบต่อคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของโลหะผสมนั้นๆ อย่างมากมาย

ทองแดงบริสุทธิ์มีสีชมพูคล้ายเนื้อปลาแซลมอน ลักษณะเป็นมันวาว สามารถดึงยึดหรือตีแผ่เป็นแผ่นบางได้ดีไม่ทนทานต่อการกัดกร่อน ส่วนดีบุกเป็นโลหะที่มีสีขาว คล้ายเงิน ไม่ค่อยแข็ง แต่มีการต้านทานต่อการกัดกร่อนสูงและมีคุณสมบัติด้านหล่อลื่น สามารถดึงยึดหรือรีดเป็นแผ่นบางได้ดี

เมื่อนำทองแดงและดีบุกมาหลอมรวมกันในอัตราส่วนผสมต่างๆ จะได้โลหะผสมที่เรียกว่าสำริด ซึ่งเป็นโลหะผสมที่มีคุณสมบัติเหนือกว่าทองแดงและโลหะอื่นๆมาก สามารถใช้งานได้หลากหลายขึ้น และทนทานต่อการกัดกร่อนดีขึ้น

เมื่อมีการค้นพบการทำสำริด ชุมชนโบราณก็มีการใช้สำริดแทนที่ทองแดงอย่างมากมาย ทั้งนี้น่าจะเป็นเพราะการขึ้นรูปทองแดงต้องใช้วิธีตีเป็นเวลานาน ส่วนสำริดเป็นโลหะที่แข็งและตีขึ้นรูปยากกว่าทองแดง เมื่อมีการค้นพบสำริดแล้ว จึงนิยมผลิตสำริดมากกว่าผลิตเครื่องมือเครื่องใช้จากทองแดง เนื่องจากการหล่อสำริดไม่ต้องผ่านการตีขึ้นรูปเป็นเวลานาน สามารถเทลงในแม่พิมพ์ออกมาเป็นรูปร่างที่ต้องการ และมีความแข็งพอเพียงที่จะใช้งานได้ทันที เป็นการประหยัดเวลาและพลังงาน นอกจากนี้การหล่อสำริดยังทำได้ง่ายและได้โลหะที่มีคุณสมบัติดีกว่าทองแดง เพราะทองแดงบริสุทธิ์มีแนวโน้มที่เกิดฟองอากาศ ระหว่างการหล่อ ทำให้ได้โลหะที่มีเนื้อพรุนคล้ายฟองน้ำ ในขณะที่สำริด ไม่เกิดฟองอากาศระหว่างการหล่อ นอกจากนี้ สำริดยังมีคุณสมบัติเหนือกว่าโลหะอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณสมบัติที่เอื้อต่อกระบวนการผลิต เมื่อสำริดเริ่มแข็งตัวเป็นของแข็งจะขยายตัว ทำให้โลหะแทรกซึมเข้าไปตามช่องว่าง และซอกหลืบของแม่พิมพ์ได้อย่างทั่วถึง เมื่อสำริดเย็นตัวลงจะหดตัวเล็กน้อย ทำให้สามารถแยกออกจากแม่พิมพ์ได้ง่าย และเมื่อผสมตะกั่วลงไปเล็กน้อย สำริดนั้นๆ จะหล่อได้ง่ายขึ้น เพราะตะกั่วช่วยลดจุดหลอมเหลว เพิ่มความสามารถในการไหล สามารถหล่อเป็นแผ่นบางๆได้ แต่ตะกั่วไม่สามารถละลายได้ในทองแดงและดีบุก เมื่อตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์จะเห็นตะกั่วปะปนอยู่ในเนื้อสำริดในลักษณะเป็นเม็ดกลมๆเล็ก กระจัดกระจายๆ

คุณสมบัติของสำริด ขึ้นอยู่กับปริมาณของโลหะอื่นๆ ที่เป็นองค์ประกอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณดีบุกมีบทบาทสำคัญในการกำหนดคุณสมบัติของสำริด ปริมาณดีบุกมีผลต่อสี ความแข็ง จุดหลอมเหลว และความทนทานต่อการกัดกร่อนของสำริด

องค์ประกอบ

สำริดที่มีดีบุก ๕% สีออกแดง เนื้อเปราะ
สำริดที่มีดีบุก ๑๐% สีคล้ายทอง
สำริดที่มีดีบุก ๑๐-๒๐% สีคล้ายเงิน
สำริดที่มีดีบุก ๑๐-๒๐% และตะกั่ว ๕% สีเหลืองทอง เนื้อแข็ง
สำริดที่มีดีบุก ๒๕% ตะกั่ว ๕% สีคล้ายเงิน เป็นมันเงา ทนการกัดกร่อนดี แต่เปราะ
สำริดที่มีดีบุก ๓๐-๓๕% ตะกั่ว ๕% สีขาว เปราะ
สำริดที่มีสังกะสีผสมอยู่ด้วยเล็กน้อย สีเหลืองอ่อน


สำริดที่มีเนื้อเดียวกัน ควรมีดีบุกผสมอยู่ไม่เกิน ๑๔% สำริดที่มีดีบุกผสมอยุ่ไม่เกิน ๑๗% เรียกว่า สำริดดีบุกต่ำ (Low-tin bronze) เนื่องจากปริมาณดีบุก ๑๗% เป็นปริมาณสูงสุดที่ดีบุกจะละลายได้ในทองแดง แต่ถ้ามีดีบุกผสมอยู่มากกว่า ๑๗% เรียกว่าสำริดดีบุกสูง (High-tin bronze) เนื้อโลหะมักจะไม่เป็นเนื้อเดียวกัน

ปัจจุบันนี้มีการผลิตและเรียกชื่อโลหะผสมของทองแดงแตกต่างกันมากมาย และบางครั้งก่อให้เกิดความสับสน โดยทั่วไป คำว่าสำริด ตรงกับคำภาษอังกฤษว่า บรอนซ์ (Bronze) ซึ่งเดิมหมายถึงโลหะผสมของทองแดงที่มีดีบุกผสมอยู่แต่ปัจจุบันนี้คำว่าบรอนซ์มีความหมายเปลี่ยนไปจากเดิม องค์ประกอบของบรอนซ์เปลี่ยนไปจากเดิม มีการผสมโลหะอื่นๆลงไปเพื่อปรับปรุงคุณภาพ โลหะผสมบางอย่างมีองค์ประกอบที่จัดเป็นทองเหลือง แต่ในทางการค้ามีชื่อเรียกกันว่าบรอนซ์นอกจากนี้ยังมีโลหะผสมทองทองแดงเกิดขึ้นใหม่ๆ อีกมากมายที่มีสีเหมือน ทอง เงิน ทองแดง ทองเหลือง และสำริด ในกรณีที่ไม่ทราบองค์ประกอบที่แท้จริงของโลหะเหล่านั้น เพื่อป้องกันความผิดพลาด ควรเรียกโลหะเหล่านี้ว่า โลหะผสมของทองแดง

นอกจากสำริดแล้ว โลหะผสมของทองแดงที่คุ้นเคยในปัจจุบัน ได้แก่ ทองเหลือง (brass) ซึ่งเป็นโลหะผสมของทองแดงกับสังกะสี ๑๐-๒๐% จะมีสีเหลืองคล้ายทอง แต่นานไปจะหมอง ทองเหลืองเริ่มปรากฎหลังจากสำริดหลายพันปี เนื่องจากการถลุงแร่สังกะสีทำได้ยากมากต้องใช้อุณหภูมิสูงจนถึงจุดเดือด การผลิตทองเหลืองสมัยก่อนประวัติศาสตร์ใช้วิธีเผาแร่ทองแดงและแร่สังกะสีเข้าด้วยกัน หลักถานทางโบราณคดีแสดงว่าชาวโรมันมีการผลิตทองเหลืองเมื่อประมาณ ๒,๐๕๐ ปีมาแล้ว โดยใช้ทำเงินตรา เช่นเดียวกับโบราณคดีหลายแห่งในเอเซียตะวันตกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเดียนิยมใช้ทองเหลืองในการทำหลังคา เครื่องเรือน ภาชนะหุงต้ม ภาชนะใส่อาหาร มาเป็นเวลายาวนานต่อเนื่องถึง ๒,๐๐๐ ปีจนถึงปัจจุบัน ในระยะหลังๆ มีการใช้สังกะสีมากขึ้น เนื่องจากหล่อง่าย ใช้อุณหภูมิไม่สูงมากนัก เช่นถ้าผสมสังกะสี ๒๐% จะได้โลหะผสมที่หลอมเหลวที่ ๑,๐๐๐ องศาเซลเซียส แต่ถ้าผสมสังกะสี ๖๐% จะหลอมเหลวที่ ๘๓๓ องศาเซลเซียส

ทองเหลืองส่วนใหญ่ประกอบด้วยทองแดงและสังกะสีไม่เกิน ๔๐% เนื่องจากสังกะสีละลายได้ดีในทองแดงให้สารละลายของแข็ง (Solid solution) โดยสังกะสีสามารถละลายได้สูงถึง ๓๙% ได้โลหะผสมที่มีความแข็งแรง ความเหนียว ความแข็งสูง แต่ถ้าผสมสังกะสีมากกว่านี้ จะได้สารประกอบเชิงโลหะระหว่างทองแดงกับสังกะสีอีกหลายชนิด ซึ่งมีผลทำให้ความแข็งแรง ความแข็ง ความเหนียว และคุณสมบัติทนการกัดกร่อน ตลอดจนสีของสีของทองเหลืองเปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณของสังกะสีที่ผสม เช่น ถ้าผสมสังกะสี ๔๐-๔๕% จะได้ความแข็งแรงสูงสุดเมื่อผสมสังกะสี ๒๕-๓๕% ถ้าเลยขอบเขตนี้ไปแล้วความเหนียวจะลดลงอย่างรวดเร็ว

ทองเหลืองที่ผสมสังกะสีไม่เกิน ๕% มีชื่อทางการค้าว่า gilding metal ใช้ทำเหรียญ เงินตราต่างๆ โล่ห์ ถ้วยรางวัล เครื่องประดับราคาถูก ทองปลอม และใช้เป็นโลหะสำหรับชุบทอง

ทองเหลืองที่ผสมสังกะสี ๑๐% เรียกว่า commercial bronze หรือบรอนซ์ทางการค้า แต่ความจริงเป็นทองเหลืองคุณสมบัติและการใช้งานคล้ายคลึงกับ gilding metal ส่วนทองเหลืองที่ผสมกับสังกะสี ๑๒.๕% เรียกว่า jewelry bronze ใช้ทำเครื่องประดับ

ทองเหลืองที่ผสมสังกะสี ๓๐% เรียกว่า cartridge brass ใช้ทำปลอกกระสุนปืน ทำท่อที่ต้องอาศัยการอัดขึ้นรูป (extrusion) หม้อน้ำระบายความร้อน ท่อควบแน่น โคมไฟ หมุด สปริง ทองเหลืองที่ผสมสังกะสี ๓๕% เรียกว่า yellow metal มีสีค่อนข้างเหลืองจัด คุณสมบัติและการใช้งานใกล้เคียงกับ cartridge brass ถ้าผสมสังกะสี ๔๐%
<B>"ถ้าแผ่นดินแรกที่ตั้งไข่ย่ำ เป็นผืนเดียวกับแผ่นดินสุดท้ายที่ดินกลบหน้า...จงกตัญญูต่อแผ่นดินเกิด"</B>
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
("\(*-*)/")
 
โพสต์: 3005
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ พ.ย. 19, 2006 9:04 am
ที่อยู่: พิพิธภัณฑ์เครื่องเล่นกระบอกเสียงและหีบเสียงไทย (www.talkingmachine.org)

โพสต์โดย ("\(*-*)/") » จันทร์ ส.ค. 03, 2009 9:30 am

โปรดติดตาม TIP ที่ 5
เรื่องความหนาของเหรียญ...เซียนเท่านั้นที่จะรู้... จริงหรือ?
<B>"ถ้าแผ่นดินแรกที่ตั้งไข่ย่ำ เป็นผืนเดียวกับแผ่นดินสุดท้ายที่ดินกลบหน้า...จงกตัญญูต่อแผ่นดินเกิด"</B>
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
("\(*-*)/")
 
โพสต์: 3005
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ พ.ย. 19, 2006 9:04 am
ที่อยู่: พิพิธภัณฑ์เครื่องเล่นกระบอกเสียงและหีบเสียงไทย (www.talkingmachine.org)

โพสต์โดย ("\(*-*)/") » จันทร์ ส.ค. 03, 2009 11:44 am

ส่วน TIP ที่ 6 ซึ่งเป็น TIP สุดท้ายที่ทุกคนรอคอย

นั่นก็คือการค้นหา..."จุดตาย" เพื่อฟันธงแท้เทียม!!!


และ TIP สุดท้ายนี้ ผมจะให้ทุกๆ คนมีส่วนร่วมครับ.... :-)

โดยผมจะลงภาพเหรียญที่มี"จุดตาย" ทั้งเหรียญจริงและเหรียญปลอมให้ทุกคนได้ดู :-o

แล้วให้เพื่อนๆ ทุกคนลงความเห็นหรืออธิบายความแตกต่างของ"จุดตาย" :?

มันย่อมสนุกกว่าที่ผมจะบอกเล่าเก้าสิบอยู่คนเดียวเป็นแน่แท้
:grin:
<B>"ถ้าแผ่นดินแรกที่ตั้งไข่ย่ำ เป็นผืนเดียวกับแผ่นดินสุดท้ายที่ดินกลบหน้า...จงกตัญญูต่อแผ่นดินเกิด"</B>
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
("\(*-*)/")
 
โพสต์: 3005
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ พ.ย. 19, 2006 9:04 am
ที่อยู่: พิพิธภัณฑ์เครื่องเล่นกระบอกเสียงและหีบเสียงไทย (www.talkingmachine.org)

โพสต์โดย o_arale » จันทร์ ส.ค. 03, 2009 1:49 pm

:-) ไม่มีความรู้เรื่องนี้เลยครับผม...งานนี้ขอชมอย่างเดียวดีกว่า "ของสะสมสูงค่า มิกล้าเดา" ...ขอบพระคุณ..อาจารย์ ครับ... :D
เอก เชียงใหม่..081-4725350.. You'll Never Walk Alone..
ภาพประจำตัวสมาชิก
o_arale
 
โพสต์: 4315
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร พ.ย. 18, 2008 5:57 pm
ที่อยู่: 226/30 หมู่1 หมู่บ้านสิรารมย์ ต.หนองจ๊อม อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50210

โพสต์โดย o_Coolhei » จันทร์ ส.ค. 03, 2009 3:03 pm

ขอเสริมนิดนึง..


อันมีประสบการณ์จากการอยู่ในวงการพระเครื่องมาสมัยนึง

เนื้อดิน เนื้อชิน เนื้อผง และเหรียญและรูปหล่อ-เหรียญหล่อ

ที่ปลอมกันง่ายที่สุดก้อจะเป็นเนื้อดิน - เนื้อผง - เนื้อชิน ( ใช้ชินเก่ามาปลอม )

เหรียญ -ยากที่สุดก้อจะเป็นพวก หล่อ ( แต่ก้อดูง่ายเหมือนกันว่าปลอม )

***เข้าประเด็น***

เหรียญตามทิป ที่อาจารย์บอก ก้อถือว่าดีมากในการพิจารณา ( ดีเยี่ยม )

แต่ปัจจูบัน มีของในตลาดเพื่อการซื้อหา หรือเช่า น้อยลงไปทุกที ( เข้ารังหมด )

1. ถ้าเป็นเรื่องบล็อก สมัยก่อนใช้วิธี ถอดพิมพ์ ข้อเสียเยอะ เช่น ลายไม่คม เหรียญนูน

ขอบไม่สมบูรณ์ มีรอยถอดบล็อก เหรียญหดคือมีขนาดเล็กลงถ้าไม่นำบล้อกยางที่ถอดพิพม์

ไปแช่น้ำมันให้ได้ขนาดซะก่อนแล้วจึงไปทำบล๊อกเหล็ก ปัจจุบัน ใช้วิธี สแกนเหรียญ

ทำให้แทบไม่ต้องส่องเลย เป๊ะ ๆ ต้องพิจารณา อย่างอื่นประกอบ

2.สนิมเหรียญ ถ้าเป็นเหรียญเก่า โดยไม่มีการขัดถู อย่างไร ก้อต้องมี สนิมของโลหะนั้น ๆ อยู่

การปลอมแต่ก่อนใช้สารเคมีบางอย่างแช่ หรือทา ทำให้เกิดสนิมของโลหะ ของแต่ละชนิดได้

ปัจจุบัน ใช้วิธี หาโลหะเก่า ๆ ของชนิดของเหรียญที่จะทำมาหลอมใหม่แล้วใส่สาร............

เพื่อเร่งปฏิกิริยาให้เกิดสนิมเร็วขึ้น แล้วนำไปอาบคาร์บอน อีกที หากจะมีการเช็คอายุโลหะ

3.ขอบเหรียญ ไม่ว่าเป็นเหรียญที่มาจากการปั๊ม หรือตัดบล๊อก ให้เราหาจุดตายของขอบเหรียญ

นั้น ๆ สมมุตฺคืออาจจะจำว่ามุมบนหน้าเหรียญ ที่ขอบมีรอยเฟือง 3 รอยเล็ก 1 รอยใหญ่ มันก้อต้อง

มีเหมือนๆ กันทุกเหรียญ เพราะมาจากบล๊อกเดียวกัน ถ้าเป็นการตัด รอยตัดที่ขอบเหรียญก้อต้องมี

เหมือนกันทุกเหรียญ ขอบแตกใช้วิธีฉีด ไนโตรเจนเหลว แล้วใช้คีมหรือเครื่องจับ บิ ให้แตก

4. เนื้อและความหนา อันนี้ต้องใช้ประสบการณ์ของผู้ซื้อเอง คือต้องเจอหรือได้สัมผัสบ่อย ๆ

5. จุดตาย อันนี้แน่และชัวร์ ว่าสมัยนึงไม่สามารถทำได้ แต่ปัจจุบันนี้ ผู้ปลอมจะทำการปลอม

เหรียญเพื่อปล่อยเป็นราย ๆ ไป เช่น ถ้ารู้ว่าผู้ซื้อแม่นหรือเก่งเรื่องการดูเหรียญอย่างใดอย่างหนึ่ง

หรือ 2- 3 อย่าง ก้อจะพยายามปลอมจุดนนั้นให้เนียนที่สุด

อาจจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก้อน้อย และขอรับคำติชม ทุกประการ :D
หากกูต้องแพ้สิ่งชั่วตัวอัปรีย์ ขอกระบี่พระราชทานประหารกู.
ธ.กรุงเทพ สุรวงศ์ 147-099-1520
ธ.กสิกร ปากเกร็ด 142-231-1147
ภาพประจำตัวสมาชิก
o_Coolhei
 
โพสต์: 4412
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. มิ.ย. 15, 2006 1:30 pm
ที่อยู่: 161/209 ม.1 ต.ลำผักกูด อ.ธัญบุรีปทุมธานี 12110

โพสต์โดย o_PAO » จันทร์ ส.ค. 03, 2009 3:25 pm

^
^
^

ตัวจริง ประสบการณ์ตรง :-D
ภาพประจำตัวสมาชิก
o_PAO
 
โพสต์: 20125
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ ต.ค. 08, 2005 6:13 pm
ที่อยู่: 11 หมู่ 2 แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กทม 10520

โพสต์โดย ("\(*-*)/") » จันทร์ ส.ค. 03, 2009 3:44 pm

นี่แหละครับที่ผมอยากเห็น

ผมเปิดประเด็น แล้วพวกเรามาต่อ

คนที่ได้ประโยชน์ก็คือเหล่านักสะสมอย่างพวกเรานั่นเอง

กราบขอบพระคุณ คุณ Coolhei สำหรับ TIP ดีๆ เช่นนี้ครับ

คนเราจะหูตาสว่าง ย่อมไม่ง่ายนัก เพราะส่วนมากแล้ว จะโดนหลอกจนหมดตัวและท้อใจไปเสียก่อน
<B>"ถ้าแผ่นดินแรกที่ตั้งไข่ย่ำ เป็นผืนเดียวกับแผ่นดินสุดท้ายที่ดินกลบหน้า...จงกตัญญูต่อแผ่นดินเกิด"</B>
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
("\(*-*)/")
 
โพสต์: 3005
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ พ.ย. 19, 2006 9:04 am
ที่อยู่: พิพิธภัณฑ์เครื่องเล่นกระบอกเสียงและหีบเสียงไทย (www.talkingmachine.org)

โพสต์โดย o_Coolhei » จันทร์ ส.ค. 03, 2009 3:46 pm

ยินดีครับ :idea:
หากกูต้องแพ้สิ่งชั่วตัวอัปรีย์ ขอกระบี่พระราชทานประหารกู.
ธ.กรุงเทพ สุรวงศ์ 147-099-1520
ธ.กสิกร ปากเกร็ด 142-231-1147
ภาพประจำตัวสมาชิก
o_Coolhei
 
โพสต์: 4412
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. มิ.ย. 15, 2006 1:30 pm
ที่อยู่: 161/209 ม.1 ต.ลำผักกูด อ.ธัญบุรีปทุมธานี 12110

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง Retro Society (บอร์ดเก่า)

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 15 ท่าน

cron