มีใครเล่นเครื่องลายคราม - ปั้นชามั้ยครับ

กระทู้ข้อมูลต่างๆจากเวบบอร์ดเก่า สามารถตอบกระทู้ได้นะครับ

โพสต์โดย o_kandahar » เสาร์ มี.ค. 07, 2009 6:32 pm

หายไปหลายวัน ต้องขออภัยทุกท่านด้วยนะครับ

พอดีขึ้นเหนือล่องใต้ตามเจ้านายทำงาน


เริ่มกันที่คอเลคชั่นของคุณ Okay ก่อนนะครับ

โถเบญจรงค์ใบใหญ่กับโถยอดฉัตรใบเล็กสองใบ แท้แน่นอนครับ

เป็นของสมัยอยุธยาทั้งสามชิ้น ดูง่าย

ใบใหญ่เขียนลายเทพพนมช่องกระจก เสียแต่ฝาแตกไปเท่านั้นเอง

นอกนั้นไม่มีปัญหาอะไรเลย ผมไม่แน่ใจว่าใบนี้เป็นยอดฉัตรหรือยอดป้าน

มองยอดฝาโถจากรูปถ่ายไม่ชัดครับ

ส่วนโถใบเล็กเขียนลายก้านต่อดอกแบบอยุธยา สวยดีดูง่าย สมบูรณ์ดีครับ

แต่ว่าโถใบซ้ายมือในรูป มันผิดฝาผิดตัวกันอยู่ครับ

กล่าวคือ โถสีพื้นแสด ฝาก็ต้องสีพื้นแสดด้วยเช่นเดียวกัน

แต่ว่าใบซ้ายนี่กลายเป็นโถฝาเขียวไปได้ ผมคิดว่าอาจเป็นการผิดฝาผิดตัวมาแต่เดิม

แต่ก็ไม่ใช่เรื่องซีเรียสครับ มีอยางนี้ให้เห็นอยู่บ่อย ๆ ขอให้แท้ก็พอแล้ว

ส่วนโถปริกใบเล็กลายเทพพนมนั้น เป็นของสมัยรัตนโกสินทร์

กำหนดอายุช่วงรัชกาลที่ 4-5 โดยประมาณครับ

โถปริกนี่ตามปกติจะมีเป็นชุด ๆ สามถึงห้าใบ จึงจะนับได้ว่าเป็นชุด เข้าชุดกัน

คุณ Okay ต้องไปตามหาใบน้อยมาอีกใบแล้วล่ะครับ โถชุดนี้สวยสมบูรณ์ ดูง่าย

โถปริกนี้ มักมียอดสวย ๆ งาม เช่นยอดทองคำประดับอัญมณี ยอดทองคำลงยา

ยอดเงินประดับพลอย ไปจนถึงยอดทองเหลืองก็มีครับ แต่อย่าซีเรียสกับยอดโถ

นักสะสมจะซีเรียสกับโถใบน้อย ใบยอดของชุดมากกว่าครับ ถ้าครบก็แพงไปเลย

สองใบนี้ก็มีราคาหนักพอตัวเหมือนกัน ดูแลดี ๆ แล้วกันครับ

สรุปว่า Okay คอเลคชั่น แท้ทุกชิ้น ดูง่าย แต่ต้องตามของเพิ่มครับ

คอเลคชั่นนี้จึงจะดียิ่งขึ้นมาก ๆ เลย



สำหรับกระเบื้องตราทรงม้า ที่คุณ da bmw กับคุณ นายเส็งเคร็ง กำลังกล่าวถึงนั้น

กระเบื้องพวกนี้ทั้งหมดเป็นกระเบื้องของญี่ปุ่นทำครับ

มีขายในช่วงรัชกาลที่ 6-7 เป็นกระเบื้องที่ส่งเข้ามาขายในบ้านเรา

การทำความเข้าใจเรื่องตราแบบนี้ ขอให้ไปเทียบกับ หน้าไม้ขีดครับ

หน้าไม้ขีด "พระรป" ที่นักสะสมหน้าไม้ขีดเก็บกัน ก็มีลักษณะเช่นเดียวกันกับตราที่ก้นชาม

ตลอดจนภาชนะในกลุ่มที่ตีตราแบบนี้

จะเห็นได้ว่า มันไม่มีความเกี่ยวข้องกับราชสำนักสยามแต่อย่างใดเลย

หากแต่เป็นการทำในลักษณะของเครื่องหมายการค้ามากกว่า

บางคราวผู้สะสมเข้าใจผิด ก็เกิดการเชื่อมโยงไปถึงของหลวง ของรัชกาลที่ห้าไปได้

ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่เกี่ยวกันเลยครับ

ขอให้ลองเปรียบเทียบดู

อีกอย่างหนึ่ง เรื่องตราทรงม้าที่ก้นภาชนะนี้

ขอให้สังเกตที่หมวกของผู้ขี่ม้าดี ๆ ครับ มันมีลักษณะต่างกัน

บางใบคล้ายหมวกทรงหม้อตาล บางใบก็คล้ายหมวกทหารยอดขนนกครับ

ลองศึกษาเปรียบเทียบดูอีกทีเพื่อความแน่ใจ

ผมไม่ได้เก็บเครื่องกระเบื้องในกลุ่มนี้ แต่ก็พอมีข้อมูลอยู่บ้าง พอจะแลกเปลี่ยนกันไปได้ครับ


ขอบคุณครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
o_kandahar
 
โพสต์: 50
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร มิ.ย. 12, 2007 2:33 am

โพสต์โดย o_da bmw » เสาร์ มี.ค. 07, 2009 10:33 pm

ลบ
แก้ไขล่าสุดโดย o_da bmw เมื่อ พุธ ส.ค. 05, 2009 6:29 pm, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
o_da bmw
 
โพสต์: 127
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ เม.ย. 29, 2007 2:47 pm
ที่อยู่: BKK

โพสต์โดย o_da bmw » อาทิตย์ มี.ค. 08, 2009 11:22 am

ลบ
แก้ไขล่าสุดโดย o_da bmw เมื่อ พุธ ส.ค. 05, 2009 6:30 pm, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
o_da bmw
 
โพสต์: 127
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ เม.ย. 29, 2007 2:47 pm
ที่อยู่: BKK

โพสต์โดย o_Okay » จันทร์ มี.ค. 09, 2009 7:03 pm

ขอบคุณ คุณkandahar มากๆครับสำหรับข้อมูล :D

ใบใหญ่เขียนลายเทพพนมช่องกระจกเป็นยอดป้านครับ
โถใบเล็กเขียนลายก้านต่อดอกแบบอยุธยา ผมเพิ่งจะสังเกตุเห็นเหมือนกันว่ามันผิดฝา ผิดตัว ถ้าคุณkandahar ไม่บอกก็คงไม่ได้สังเกตุ
ส่วนโถปริกใบเล็กลายเทพพนม ไม่มียอดเลยครับได้มาก็ไม่มีแล้ว คงจะโดนถอดไปก่อน

วันนี้ขอคำวิจารณ์ภาพชุดนี้ครับ ไม่ทราบว่าพอจะมีข้อมูลไหม
รูปภาพรูปภาพ

รูปภาพรูปภาพ

ที่บ้านยังพอมีอีกไว้วันหลังจะถ่ายรูปมาขอคำวิจารณ์เพิ่มครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
o_Okay
 
โพสต์: 981
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ม.ค. 12, 2006 11:59 am

โพสต์โดย o_น้ำมะเน็ด » จันทร์ มี.ค. 09, 2009 8:47 pm

ไม่รู้เป็นไร ชอบกระทู้นี้จริงๆ :smile:
คนที่ปราศจากความรักในการสะสมย่อมมีเพียงชีวิตเดียว
ต่างจากคนที่รักการสะสมซึ่งมีสองชีวิต เพราะเขาใช้ชีวิตพร้อมกันไปใน"โลกสองโลก"

ที่มา:หนังสือเครื่องเสียงโบราณตำนานแห่งศาสตร์และศิลป์
ภาพประจำตัวสมาชิก
o_น้ำมะเน็ด
 
โพสต์: 6076
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ต.ค. 09, 2005 6:06 pm
ที่อยู่: CokeThai.com

โพสต์โดย o_PAO » จันทร์ มี.ค. 09, 2009 11:39 pm

เข้ามาเก็บความรู้ :D
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
o_PAO
 
โพสต์: 20125
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ ต.ค. 08, 2005 6:13 pm
ที่อยู่: 11 หมู่ 2 แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กทม 10520

โพสต์โดย o_Okay » ศุกร์ มี.ค. 13, 2009 2:21 pm

วันนี้เอาเบญจรงค์ 2 ใบนี้มาสอบถามครับ
ผมไม่รู้ว่ามันเป็นของใหม่หรือของยุคไหน ทำไม 2 ใบนี้ลายเดียวกันแต่ตีตราไม่เหมือนกัน
รบกวนพี่ๆช่วยวิจารณ์ด้วยครับ :D

รูปภาพรูปภาพ

ภาพฝาปิด
รูปภาพรูปภาพ

ภาพก้นชาม
รูปภาพรูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
o_Okay
 
โพสต์: 981
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ม.ค. 12, 2006 11:59 am

โพสต์โดย นายเส็งเคร็ง » ศุกร์ มี.ค. 13, 2009 7:18 pm

Okay เขียน:วันนี้เอาเบญจรงค์ 2 ใบนี้มาสอบถามครับ
ผมไม่รู้ว่ามันเป็นของใหม่หรือของยุคไหน ทำไม 2 ใบนี้ลายเดียวกันแต่ตีตราไม่เหมือนกัน
รบกวนพี่ๆช่วยวิจารณ์ด้วยครับ :D

รูปภาพรูปภาพ

ภาพฝาปิด
รูปภาพรูปภาพ

ภาพก้นชาม
รูปภาพรูปภาพ


ด้วยความรู้น้อยนิดขอบอกว่าน่าจะเป็นเบญจรงค์ทำในญี่ปุ่น หรือที่เรียกว่าเบญจรงค์ญี่ปุ่น ยุคหลัง ร.5 เป็นต้นมา คิดว่านะครับ รอคุณ kandahar กับ คุณ da bmw มาช่วยแก้ไขให้ครับ
กวีผู้หลับใหลในวิชา 2116301 แห่งสำนักศึกษากฎหมายแห่งปลายอิสาณทิศ
นายเส็งเคร็ง
 
โพสต์: 209
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.ค. 06, 2008 2:40 pm
ที่อยู่: อุบลราชธานี

โพสต์โดย นายเส็งเคร็ง » ศุกร์ มี.ค. 13, 2009 7:22 pm

Okay เขียน:ขอบคุณ คุณkandahar มากๆครับสำหรับข้อมูล :D

ใบใหญ่เขียนลายเทพพนมช่องกระจกเป็นยอดป้านครับ
โถใบเล็กเขียนลายก้านต่อดอกแบบอยุธยา ผมเพิ่งจะสังเกตุเห็นเหมือนกันว่ามันผิดฝา ผิดตัว ถ้าคุณkandahar ไม่บอกก็คงไม่ได้สังเกตุ
ส่วนโถปริกใบเล็กลายเทพพนม ไม่มียอดเลยครับได้มาก็ไม่มีแล้ว คงจะโดนถอดไปก่อน

วันนี้ขอคำวิจารณ์ภาพชุดนี้ครับ ไม่ทราบว่าพอจะมีข้อมูลไหม
รูปภาพรูปภาพ

รูปภาพรูปภาพ

ที่บ้านยังพอมีอีกไว้วันหลังจะถ่ายรูปมาขอคำวิจารณ์เพิ่มครับ



มาสาระแนตอบเล่นๆ อีกแล้วครับ แล้วก็คุณ kandahar กับ คุณ da bmw มาช่วยแก้ไขให้เหมือนเดิม 2 ใบล่างพอบอกได้ว่า เป็นเนื้อปังเคยธรรมดา ส่วน 2 ใบบนไม่แน่ใจว่าใบซ้ายน่าจะเป็นเนื้อปังเคยหิน ส่วนใบขวาก้ำกึ่งระหว่างปังเคยหินกะกระเบื้อง (กังไสหรือเปล่า) นะ
กวีผู้หลับใหลในวิชา 2116301 แห่งสำนักศึกษากฎหมายแห่งปลายอิสาณทิศ
นายเส็งเคร็ง
 
โพสต์: 209
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.ค. 06, 2008 2:40 pm
ที่อยู่: อุบลราชธานี

โพสต์โดย o_da bmw » ศุกร์ มี.ค. 13, 2009 9:08 pm

ลบ
แก้ไขล่าสุดโดย o_da bmw เมื่อ พุธ ส.ค. 05, 2009 6:31 pm, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
o_da bmw
 
โพสต์: 127
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ เม.ย. 29, 2007 2:47 pm
ที่อยู่: BKK

โพสต์โดย o_kandahar » อาทิตย์ มี.ค. 15, 2009 1:59 am

ตอบคุณ Okay เรื่องโถน้ำลายครามนะครับ

โถทั้งสี่ใบนี้ ผมขอจัดเป็นหมายเลขโดยเรียงลำดับจากการโพสรูป

โดยเรียกเป็นโถใบที่ ๑-๔ เรียงจากรูปบนลงล่าง แต่ละรูปเรียงซ้ายมาขวา

โถในชุดนี้มีอายุตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ มาจนถึงต้นรัชกาลที่ ๙ ครับ

โถน้ำเหล่านี้มีการทำขึ้นมามากในช่วงระยะเวลาดังได้กล่าวมา พบเห็นบ่อย

แต่หาใบที่สมบูรณ์ครบชิ้นได้ยากพอควร โถทั้งสี่ใบนี้ เป็นของเก่าหมด

แต่ว่ามีความเก่ามากน้อยต่างกัน ราคาก็ต่างกันไปด้วย เรามาวิเคราะห์โถชุดนี้ด้วยกันครับ


ว่าด้วยการกำหนดอายุ

ในชุดนี้โถใบที่ ๒ สามารถกำหนดอายุได้เก่าที่สุด คืออยู่ในช่วงรัชกาลที่ ๕

เหตุผลเนื่องมาจากการเขียนลายและกระบวนในการวางลาย

จะเห็นได้ว่าโถใบที่ ๑-๓ นั้น เขียนลายเดียวกันทั้งสิ้นคือลายผักชี แต่โถใบที่ ๑ และ ๒ นั้น

มีความละเอียดและความ "ไหว" ในการเขียนลายมากกว่า

ใบที่ ๒ นี้ดีที่สุดในลอต เพราะลายเป็นธรรมชาติมาก มีการลงลายละเอียดที่ดี

ดังจะเห็นได้จากลายในกลีบดอก การผูกก้านใบ ตลอดจนการเขียนลายคอเสื้อบริเวณก้นโถ

ใบที่ ๒ เขียนดีที่สุด รองลงมาเป็นใบที่ ๑ ใบที่ ๓ หย่อนที่สุด

นอกจากนี้ดูลายที่คอโถสิครับ ลายไผ่ละเอียดในใบที่ ๒

และค่อย ๆ ลดลงไปตามลำดับในใบที่ ๑ และ ๓

หลักของลายครามนั้นมีอยู่ว่า ลายเขียนเก่ายิ่งละเอียด ยิ่งงาม ลายเขียนชั้นหลังตามไม่ทัน

ดังนั้น จึงไม่ยากอะไรเลยครับที่จะกำหนดอายุให้โถใบที่ ๑ และ ๒ ในช่วงรัชกาลที่ ๕

หรือรัชกาลที่ ๖ ตอนต้น

ในขณะที่โถใบที่ ๓ และ ๔ พิจารณาว่าน่าจะเป็นของในช่วง รัชกาลที่ ๗ ถึงรัชกาลที่ ๙

เพราะเหตุเรื่องการพิจารณาความจัดจ้านของลาย

ที่สำคัญ ลายผักชีและลายลายสิงห์เมฆแบบนี้ ตอนนี้ก็ยังมีทำออกมาขายกันนะครับ

ลองเดินตลาดของเก่าบ้างไม่เก่าบ้างดู น่าจะเจอบ้างครับ

เคสอย่างนี้ เพื่อนผมคนหนึ่งเขายิบย่อยมาก

บางทีงานกระเบื้องต้นรัชกาลที่ ๙ เขาไม่เล่นเลยทีเดียว

ด้วยเหตุผลว่า ของเมื่อ ๕๐ ปี กับของเมื่อปีที่แล้ว มันห่างกันแค่นิ้วชี้กับนิ้วกลางนะ



ลายครามเหล่านี้ต้องเก็บที่ลายจัด ๆ มีความเป็นธรรมชาติสูง ตั้งใจทำ

ไม่เล่นของที่เขียนลายเเบบง่ายเกินไป บางทีของเก่าจริง แต่ตามมาตรฐานสากลที่ยอมรับ

เราต้องตีอายุไปตามลาย ไม่งั้นก็มานั่งทะเลาะกัน

แต่เกณฑ์นี้ก็ใช่ว่าจะใช้ได้ไปหมดทุกชนิดกระเบื้องอีก

เพราะหากนำไปใช้กับโถหยวน โถหมิง ก็ไม่ได้ เพราะลายตามอายุสมัยที่แท้นั้น

มันง่าย ๆ ลวก ๆ ลน ๆ ไปด้วยซ้ำ

อันนี้ต้องขึ้นกับความชำนาญ การเห็นของมาก ความแม่นในลายกับอายุสมัยด้วย

ในการพิจารณา นอกจากนี้การพิจารณาความเป็นธรรมชาติและลักษณะเฉพาะอย่าง

ก็เป็นตัวกำหนดอายุอีกชั้นหนึ่งครับ อันนี้ต้องเห็นของเอง มีของให้ดูมาก

ถ้าเห็นของผ่านตามาน้อย ก็ยากอีก ต้องแล้วแต่ดวงว่าจะขึ้นกับวงการกระเบื้องหรือไม่


ผมใช้เกณฑ์มาตรฐานกระเบื้องสากลพิจารณานะครับ

ถูกผิดประการใด ต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้ด้วยนะครับ


ส่วนเรื่องชามเบญจรงค์สองใบหลัง

คงต้องรอผมกลับมาก่อนนะครับ ต้องไปฝรั่งเศสอีกแล้ว

กลับมาจะเล่าสู่กันฟังครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
o_kandahar
 
โพสต์: 50
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร มิ.ย. 12, 2007 2:33 am

โพสต์โดย o_lekpn » จันทร์ มี.ค. 16, 2009 8:15 pm

ยินดีกะโอ๊คด้วย มีแต่ของดีๆทั้งน้าน :smile: :smile:

ขอบคุณพี่ kandahar ที่เสียสละเวลาเข้ามาตอบนะครับ :smile: :smile:
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
o_lekpn
 
โพสต์: 12266
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ ต.ค. 08, 2005 8:39 pm
ที่อยู่: 98 ถ.นนทรี ช่องนนทรี ยานนาวา กรุงเทพฯ

โพสต์โดย o_Okay » จันทร์ มี.ค. 16, 2009 11:26 pm

ขอบคุณพี่ๆทุกคนที่ให้ความรู้ครับ :D
โดยเฉพาะพี่kandahar ถ้าไม่ได้พี่ ผมก็คงไม่รู้ว่าโถกระเบื้องพวกนี้อยู่ในสมัยไหน

ผมว่าทุกคนคงอยากจะเห็นเครื่องลายครามของพี่kandahar :-o
วันหลังถ้าพี่มีเวลา รบกวนถ่ายภาพมาให้ศึกษาบ้างนะครับ
ขอบคุณครับ :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
o_Okay
 
โพสต์: 981
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ม.ค. 12, 2006 11:59 am

โพสต์โดย o_PAO » จันทร์ มี.ค. 16, 2009 11:41 pm

Okay เขียน:ผมว่าทุกคนคงอยากจะเห็นเครื่องลายครามของพี่kandahar :-o
วันหลังถ้าพี่มีเวลา รบกวนถ่ายภาพมาให้ศึกษาบ้างนะครับ
ขอบคุณครับ :D


แล้วของโอ๊ค หมดบ้านหรือยัง เอามาโชว์อีกสิ :-o
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
o_PAO
 
โพสต์: 20125
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ ต.ค. 08, 2005 6:13 pm
ที่อยู่: 11 หมู่ 2 แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กทม 10520

โพสต์โดย o_Okay » จันทร์ มี.ค. 16, 2009 11:56 pm

ยังพอมีพี่ อยากจะเอามาถามพี่ kandahar ให้หมดเหมือนกัน
แต่มันติดที่ผมโหลดภาพได้แค่ทีละภาพ กว่าจะได้ภาพนึงก็รอนานมาก
ไว้วันหลังจะเอามาให้ดูครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
o_Okay
 
โพสต์: 981
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ม.ค. 12, 2006 11:59 am

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง Retro Society (บอร์ดเก่า)

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 11 ท่าน

cron