ฉลากเก่ากำสรวล

กระทู้ข้อมูลต่างๆจากเวบบอร์ดเก่า สามารถตอบกระทู้ได้นะครับ

โพสต์โดย o_lekpn » อาทิตย์ ก.ย. 03, 2006 8:48 pm

เคยเหมือนกันครับ :lol:
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
o_lekpn
 
โพสต์: 12266
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ ต.ค. 08, 2005 8:39 pm
ที่อยู่: 98 ถ.นนทรี ช่องนนทรี ยานนาวา กรุงเทพฯ

โพสต์โดย o__Santana » อาทิตย์ ก.ย. 03, 2006 10:52 pm

อื้อหือ..แต่ละท่านรุ่นกล้วยบดทั้งนั้นเลยนะ

พี่ยุดหนมที่ปั้นขายหน้าโรงงิ้วทำจากน้ำตาลและแข็งตัวเร้วเร็วเค้าเรียกว่าหนมอะไรน๊าจำไม่ได้

เป็นรูปลิงปีนต้นมะพร้าว,ลิงตกปลา,มังกรฯลฯ สีสันจัดจ้านที่เสียบไม้หงะพอทำเสร็จก็จะปักๆไว้ข้างหน้ารอขาย

หารูปมาดูกันดีกว่า :P
ภาพประจำตัวสมาชิก
o__Santana
 
โพสต์: 2758
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ต.ค. 10, 2005 12:43 pm
ที่อยู่: บางใหญ่ นนทบุรี

โพสต์โดย sermsoon » จันทร์ ก.ย. 04, 2006 2:38 pm

เป็นน้ำตาลผสมสีตั้งไฟอ่อนๆ เคี่ยวหรือกวนด้วยไม้บ่อยๆ เพื่อไม่ให้แข็ง เท่าที่เห็นมี 2 ประเภทคือ ประเภทตัน ควักน้ำตาลมาปั้น สมัยก่อนส่วนใหญ่เป็นรูปลิง โดยปั้นเป็นทรงกระบอกเส้นผ่าศูนย์กลางราว 1 ซม. ยาวราว 5 ซม. เอาไม้เสียบตามยาวแล้วใช้กรรไกรเล็กๆ ควั่นตรงบริเวณห่างจากปลายบนราว 1 ซม. ทำเป็นหัว ใช้กรรไกรที่มีปลายแหลมจิ้มเป็นตา จมูก ตัดเป็นปาก

จากนัเนใช้กรรไกรตัดบริเวณที่จะเป็นแขน-ขา และหาง 5 ตำแหน่งแล้วดึงให้ยืดออกมาเหมือนของจริง เอาไม้ควักสีอื่นป้ายบนหัวเป็นหมวก บางทีก็เอากังหันเล็กๆติดหลัง พอเป่าลมใส่กังหันจะหมุนติ้ว
รูปภาพ รูปภาพ
ถึงไม่มั่งไม่มี ก็ควรจะมีมั่ง
มีมั่งไม่มีมั่ง ยังดีกว่าไม่มีเอาเสียเลย
อายุบวร
ภาพประจำตัวสมาชิก
sermsoon
 
โพสต์: 2302
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ส.ค. 20, 2006 8:49 pm
ที่อยู่: ถนนบางกรวย-ไทรน้อย บางกรวย นนทบุรี 11130

โพสต์โดย sermsoon » จันทร์ ก.ย. 04, 2006 2:48 pm

อีกประเภทหนึ่งเป็นตัวกลวงบางๆ ต้องใช้เบ้าแม่พิมพ์ซึ่งทำด้วยดินเผาเป็น 2 ชิ้นประกบกันช่วยให้เกิดรูปร่างและรายละเอียด

คนขายควักน้ำตาลมาก้อนหนึ่ง แผ่ให้กลมแบนเส้นผ่าศูนย์กลางราว 5 ซม.วางบนฝ่ามือซ้าย ใช้นิ้วชี้มือขวาแยงลงตรงจุดศูนย์กลาง พลางห่อมือซ้ายขึ้นหุ้มนิ้วชี้มือขวา จีบนิ้วทั้งห้าของมือซ้ายรวบเข้าหาโคนนิ้วชี้มือขวา ค่อยๆ หมุน ถอนนิ้วชี้มือขวาออก นำหลอดไม้ซางกลวงขนาดโตกว่าหลอดกาแฟเล็กน้ย ยาวราว 4 ซม.แหย่โคนลงที่ปากกระพุ้ง บีบคลึงน้ำตาลให้รัดโคนไม้ซาให้สนิทกันลมรั่ว ส่วนนี้ใช้เป็นที่เป่าลม

นำกระเปาะน้ำตาลที่มีไม้ซางวางลงในพิมพ์ดินเผา ที่โคนหรือขั้วด้านหนึงมีร่องบากไว้รองรับก้านก้อนน้ำตาล โผล่ปลายไม้ซางออกมาข้างนอกสำหรับเป่า แล้วส่งให้ลูกค้าเป่าให้น้ำตาลโป่งออกบรรจุเต็มเบ้า ถอดฝาเบ้าออกน้ำตาลแข็งพอดี นำออกมาเสียบไม้ได้เป็นรูปสัตว์ มีไก้ ปลา ผลไม้ก็มีเช่ยมังคุด ฯลฯ
รูปภาพ รูปภาพ
ถึงไม่มั่งไม่มี ก็ควรจะมีมั่ง
มีมั่งไม่มีมั่ง ยังดีกว่าไม่มีเอาเสียเลย
อายุบวร
ภาพประจำตัวสมาชิก
sermsoon
 
โพสต์: 2302
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ส.ค. 20, 2006 8:49 pm
ที่อยู่: ถนนบางกรวย-ไทรน้อย บางกรวย นนทบุรี 11130

โพสต์โดย sermsoon » จันทร์ ก.ย. 04, 2006 2:55 pm

อ้อ... เล่าผิดไปหน่อย ขออภัย

ปกติจะไม่เสียบไม้ซาง แต่จะดึงยืดออกเป็นหลอดกลวงเล็กๆและเป่ากันที่หลอดน้ำตาลนั้น ส่วนที่เสียบไม้ซางนั้นมาทำตอนหลังเฉพาะตัวที่ต้องการให้เป่ามีเสียงได้ เช่นไก่ โดยจะเสียบหลอดไม้ซาง ปลายกลอดไม้ซางด้านนอกบากเป็นปากฉลาม ตรงโคนปากฉลามบากร่องเล็กๆ สำหรับใส่ใบตองแห้เป็นลิ้น ฉีกใบตองแห้งตามเส้นลายใบตองให้ได้ขนาดพอดีปิดช่องปากฉลาม เมื่อแตะน้ำลายเล็กน้อยให้ใบตองปิดปากฉลาม เป่าแล้วจะเกิดเสียงดังคล้ายลิ้นปี่คลาริเน็ต ส่วนที่เสียบไม้ซางนี้มักจะเป็นตรงก้นไก่ครับ
รูปภาพ รูปภาพ
ถึงไม่มั่งไม่มี ก็ควรจะมีมั่ง
มีมั่งไม่มีมั่ง ยังดีกว่าไม่มีเอาเสียเลย
อายุบวร
ภาพประจำตัวสมาชิก
sermsoon
 
โพสต์: 2302
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ส.ค. 20, 2006 8:49 pm
ที่อยู่: ถนนบางกรวย-ไทรน้อย บางกรวย นนทบุรี 11130

โพสต์โดย sermsoon » จันทร์ ก.ย. 04, 2006 3:03 pm

ทีนี้การเป่า เพื่อให้แกะน้ำตาลซึ่งบางมากออกจากเบ้าง่าย เขาใช้แป้งมันใส่ถุงผ้าขาวบางตบค่อยๆ ลงที่ด้านในของเบ้าทั้งสองฝา แป้งจะออกมาเคลือบเบ้าบางๆ ทำให้ไม่ติดเบ้า

ปกติคนขายจะเป่าเป็นตัวเสียบไม้ขายโดยใช้สูบลมแบบขาเหยียบช่างทำทอง คนขายที่ชำนาญจะเหยียบลมสม่ำเสมอทำให้ได้ตัวสัตว์ที่สวยงามสมบูรณ์ครบตัว และใช้เวลาสั้นมาก ราวสิบวินาทีก็เสร็จ

ทีนี้นิสัยคนไทยชอบพนันขันต่อ เล็กๆ น้อยๆ ก็ยังดีพอสนุกๆ ก็เลยมีการให้คนซื้อเป่าเองโดยใช้ปากเป่า ใครเป่าได้ครบเต็มตัวโดยไม่แตกไม่รั่ว ก็จะได้ไปกินฟรีๆ ไม่ต้องเสียเงิน ใครเป่าแล้วรั่ว หรือเปิดออกมาไม่เต็มตัวเพราะเป่าช้าไปหน่อย น้ำตาลแข็งเสียก่อน ก็ต้องจ่ายตังค์ แล้วเอาน้ำตาลตัวนั้นไปกิน (เสียให้หายแค้น)
รูปภาพ รูปภาพ
ถึงไม่มั่งไม่มี ก็ควรจะมีมั่ง
มีมั่งไม่มีมั่ง ยังดีกว่าไม่มีเอาเสียเลย
อายุบวร
ภาพประจำตัวสมาชิก
sermsoon
 
โพสต์: 2302
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ส.ค. 20, 2006 8:49 pm
ที่อยู่: ถนนบางกรวย-ไทรน้อย บางกรวย นนทบุรี 11130

โพสต์โดย sermsoon » จันทร์ ก.ย. 04, 2006 3:10 pm

ธรรมดาครับ มีการพนันที่ไหนย่อมต้องมีการโกงที่นั่น คนขายมักมีเล่ห์เหลี่ยมไม่ยอมให้ลูกค้ากินฟรีง่ายๆ นั่นก็คือ ขณะจิ้มนิ้วชี้ลงไปบนแผ่นน้ำตาลเพื่อทำกระเปาะลม มักจะแอบใช้เล็บ (ซึ่งมักไว้ยาวและออกจะดำๆ หน่อยๆ) จิกลงไปบนแผ่นน้ำตาลจนเกือบทะลุ แล้วรวบใส่เบ้าให้ลูกค้าเป่า พอเป่าไปได้หน่อย น้ำตาลซึ่งขยายตัวพร้อมๆ กัน ส่วนที่โดนเล็บจิกก็เลยแตกเสียก่อนจะพองเต็มเบ้า

จะรู้ได้อย่างไรว่าแตกหรือรั่ว อย่างที่บอกไว้ว่ามีการประแป้งมันไว้ในฝาเบ้า ถ้าเห็นฝุ่นแป้งฟุ้งออกตรงรอยที่ประกบกันของฝาทั้งสองออกมาเมื่อไหร่ แสดงว่ากระเปาะน้ำตาลรั่วแล้ว ก็ Game Over ครับ

เล่าสดๆ ไม่ทันนึกหรือร่างไว้แก้ ผิดถูกอย่างไรช่วยกันคนละไม้ละมือ สนุกดีครับ

เดี๋ยวนี้ยังพอมีเห็นตามงานวัดบางแห่ง เจอเมื่อไรยังชอบยืนดูไม่มีเบื่อ แม้คนขายสมัยนี้จะดัดแปลงทำรูปสัตว์ได้หลากหลายแบบกว่ารุ่นเก่าก่อน แต่ผมมีความเห็นว่าคนยุคก่อนมีศิลปะในด้านนี้มากกว่าครับ
รูปภาพ รูปภาพ
ถึงไม่มั่งไม่มี ก็ควรจะมีมั่ง
มีมั่งไม่มีมั่ง ยังดีกว่าไม่มีเอาเสียเลย
อายุบวร
ภาพประจำตัวสมาชิก
sermsoon
 
โพสต์: 2302
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ส.ค. 20, 2006 8:49 pm
ที่อยู่: ถนนบางกรวย-ไทรน้อย บางกรวย นนทบุรี 11130

โพสต์โดย o_PAO » จันทร์ ก.ย. 04, 2006 3:39 pm

หนังสือสารคดี เคยทำเรื่องนี้เอาไว้เมื่อหลายปีก่อน พรุ่งนี้จะก็อปปี้ภาพมาลงให้นะครับ (ถ้าหาเจอ) :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
o_PAO
 
โพสต์: 20125
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ ต.ค. 08, 2005 6:13 pm
ที่อยู่: 11 หมู่ 2 แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กทม 10520

โพสต์โดย sermsoon » จันทร์ ก.ย. 04, 2006 6:31 pm

แจ๋วเลยครับ จะรออ่านรอชมภาพ
ผมเป็นคนชอบเดินงานวัด จนเดี๋ยวนี้ขับรถผ่านที่ไหน เจองานวัดเป็นจอดเดิน
นาน น้านนน นาน จะเจอร้านน้ำตาลที่ว่า ยืนดูเพลินทุกครั้งครับ
รูปภาพ รูปภาพ
ถึงไม่มั่งไม่มี ก็ควรจะมีมั่ง
มีมั่งไม่มีมั่ง ยังดีกว่าไม่มีเอาเสียเลย
อายุบวร
ภาพประจำตัวสมาชิก
sermsoon
 
โพสต์: 2302
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ส.ค. 20, 2006 8:49 pm
ที่อยู่: ถนนบางกรวย-ไทรน้อย บางกรวย นนทบุรี 11130

โพสต์โดย o_PAO » อังคาร ก.ย. 05, 2006 5:17 pm

หนังสือสารคดี ปีที่ 1 ฉบับที่ 9 ตุลาคม 2528 (โอ้ว....20 ปีผ่านไป :shock: )
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
o_PAO
 
โพสต์: 20125
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ ต.ค. 08, 2005 6:13 pm
ที่อยู่: 11 หมู่ 2 แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กทม 10520

โพสต์โดย o_PAO » อังคาร ก.ย. 05, 2006 5:20 pm

โพสรูปให้ดุก่อนนะครับ ขอไปทำธุระก่อน :D
รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
o_PAO
 
โพสต์: 20125
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ ต.ค. 08, 2005 6:13 pm
ที่อยู่: 11 หมู่ 2 แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กทม 10520

โพสต์โดย o_น้ำมะเน็ด » อังคาร ก.ย. 05, 2006 8:31 pm

เห็นขนมลิงตกปลาแล้วทำให้นึกถึง...โรตีสายไหม 8)

ถ้าใครทันคงจำได้..จะมีอาแปะสะพายปี๊ป 2 ใบติดกัน ใบนึงใส่สายไหม อีกใบใส่โรตี

เวลาโรงเรียนเลิกเด็กๆรุมกันเต็ม..ไม่ใช่เพราะอร่อยหรืออะไรหรอก

แต่ชอบเสี่ยงโชค...บนฝาปิดปี๊ปจะมีปุ่มกดตัวเลขวัดดวง..

มือดีก็ได้หลายอัน...มือไม่ดีก็ได้อันเดียว...เป็นการตลาดที่ยอดเยี่ยมมากๆ :lol:

พี่เปามีรูปประกอบป่าว :?:
ภาพประจำตัวสมาชิก
o_น้ำมะเน็ด
 
โพสต์: 6076
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ต.ค. 09, 2005 6:06 pm
ที่อยู่: CokeThai.com

โพสต์โดย o__Santana » อังคาร ก.ย. 05, 2006 8:37 pm

ขอบคุณอาเสริมมากครับที่ช่วยอธิบายจนเห็นภาพ :D

ขอบคุณคนตัวอ้วนที่ทำฝันให้เป็นจริงหลายรูปยังไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน

มีเจ้าจ๋อตกปลากะไก่เท่านั้นที่คุ้นหูคุ้นตา :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
o__Santana
 
โพสต์: 2758
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ต.ค. 10, 2005 12:43 pm
ที่อยู่: บางใหญ่ นนทบุรี

โพสต์โดย o_PAO » อังคาร ก.ย. 05, 2006 10:48 pm

โรตีแถวบ้านเขาเอากล่องโรตีซ้อนท้ายจักรยานมาครับ ไม่เคยเห็นนานละ :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
o_PAO
 
โพสต์: 20125
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ ต.ค. 08, 2005 6:13 pm
ที่อยู่: 11 หมู่ 2 แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กทม 10520

โพสต์โดย love_Heineken » อังคาร ก.ย. 05, 2006 11:08 pm

เจ้ากล่องโรตีสายไหมนี่แหละ ที่ผมเล่าให้พี่เปาฟัง วันก่อน ซื้อไม่ทันที่คลองถม ปี๊ปละ 150 บาท สวยเช้งเลย 2 ปี๊ป ผมงี้มองตาปริบ ปริบ เลย :cry:
ภาพประจำตัวสมาชิก
love_Heineken
 
โพสต์: 7047
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร พ.ย. 01, 2005 8:48 pm
ที่อยู่: ถ.จันทร์ แขวงบางโคล่ เขตบางคอแหลม กทม

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง Retro Society (บอร์ดเก่า)

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 25 ท่าน

cron