หน้า 1 จากทั้งหมด 1

Carbon foot print บนกระป๋องCoca Cola

โพสต์โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ธ.ค. 13, 2009 4:08 am
โดย chatchai
Carbon Footprint (CF) คือ ปริมาณรวมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และ ก๊าซเรือนกระจก อื่นๆ ที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์หรือบริการตลอดวัฏจักรชีวิต CF เป็น"การวัด"ผลกระทบของผลิตภัณฑ์และบริการจากกิจกรรมของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมเชิงปริมาณ โดยใช้ตัวบ่งชี้ โอกาสในการเกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming Potential,GWP)องค์กร Intergovernmental Panel on Climate Change; IPCC ได้กำหนดค่า GWP ของก๊าซต่างๆ โดยเปรียบเทียบกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในระยะเวลาที่กำหนด อาทิ 20, 100, 500 ปี ทั้งนี้ โดยทั่วไปจะใช้ค่า GWP ของก๊าซเรือนกระจก ที่ระยะเวลา 100 ปี
แหล่งกำเนิดของก๊าซมาจากกิจกรรมต่างๆ อาทิ การใช้ไฟฟ้า กระบวนการในภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น การตรวจวัด CFโดยใช้หลักการการประเมินวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment: LCA) ซึ่งเป็นหลักการตามมาตรฐานสกล ISO 14040, 14044 ที่ใช้สำหรับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมตลอดวัฏจักรชีวิต
ฉลากCarbon Footprint ที่ติดบนสินค้าเพื่อแสดงข้อมูลให้ผู้บริโภคทราบว่าตลอดวัฏจักรชีวิตของ สินค้ามีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาเท่าใดซึ่งปกติต้องไม่เกินร้อยละ10ซึ่งจะช่วยการตัดสินใจของผู้บริโภคและกระตุ้นให้ผู้ผลิตปรับเทคโนโลยีให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
เป็นที่น่าภูมิใจที่ประเทศไทยจะมีฉลากCarbon Footprint ติดบนสินค้าเป็นครั้งแรกในวันที่25 ธันวาคมนี้เบื้องต้นจะมีมากกว่า10ชนิด เช่น อาหารการบินไทย กระดาษดับเบิ้ลเอ โค้กกระป๋อง ฯลฯ รอดูนะครับ นับว่าเป็นนวัตกรรมยิ่งใหญ่จริงๆ

Re: Carbon foot print บนกระป๋องCoca Cola

โพสต์โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ธ.ค. 13, 2009 10:59 am
โดย Maxxi
!) !)

Re: Carbon foot print บนกระป๋องCoca Cola

โพสต์โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ธ.ค. 13, 2009 8:48 pm
โดย arale
^+ เท่ากับว่าเราจะมีกระป๋องใหม่มาให้เก็บกันอีกแล้วซิเน๊าะ...ขอบพระคุณข้อมูลจากพี่ฉัตรชัยด้วยครับ.. !&

Re: Carbon foot print บนกระป๋องCoca Cola

โพสต์โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ธ.ค. 13, 2009 8:53 pm
โดย art
แหล่มเลยคร้าบ ^+

Re: Carbon foot print บนกระป๋องCoca Cola

โพสต์โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 15, 2009 9:31 am
โดย Tatirach_RV24
เข้ามาติดตามข่าวสารครับ !&

Re: Carbon foot print บนกระป๋องCoca Cola

โพสต์โพสต์แล้ว: ศุกร์ ธ.ค. 18, 2009 9:24 pm
โดย livercoke
รักษ์โลก รักประเทศไทย รักโคคา-โคล่า @(

Re: Carbon foot print บนกระป๋องCoca Cola

โพสต์โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 29, 2009 3:10 pm
โดย chatchai
โค้กยุโรปชี้ ผู้บริโภคยุโรปใส่ใจสิ่งแวดล้อม แต่ยังสับสนเรื่องข้อมูล
หากติดตามข่าวแวดวงธุรกิจการค้ายุโรป จะเห็นได้ว่ากระแสสิ่งแวดล้อมกำลังมาแรง บริษัทโคคาโคลาได้ร่วมมือกับองค์กร Carbon Trust ทำ carbon footprint พร้อมสำรวจความเห็นผู้บริโภค ได้ผลน่าสนใจว่า แม้ผู้บริโภคสนใจสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่ต้องการข้อมูลที่ชัดเจนขึ้นกว่าเดิม และชี้ หากทุกฝ่ายสนใจแต่เรื่องก๊าซคาร์บอน อาจละเลยสิ่งแวดล้อมด้านอื่นๆได้
บริษัทโคคาโคลา สำนักงานใหญ่และสำนักงานที่ตั้งในสหราชอาณาจักร ได้ร่วมมือกับองค์กร Carbon Trust ทำโครงการทดลองเพื่อหา Carbon Footprint หรือปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนตลอดช่วงชีวิตของผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ที่วางขายในสหราชอาณาจักร หา 'Hotspot' ว่าช่วงชีวิตในการผลิตช่วงใดที่ก่อให้เกิดการผลิตก๊าซคาร์บอนมากที่สุด พร้อมทำการสำรวจความเห็นผู้บริโภคยุโรปในเรื่องอิทธิพลที่สิ่งแวดล้อมมีต่อการตัดสินใจเลือกซื้อของและความเห็นต่อเครื่องหมาย Carbon Footprint
การสำรวจพบว่า ในเชิงการทำการตลาด แม้ปัจจุบัน ผู้บริโภค ไม่เพียงแค่สนใจผลกระทบที่สินค้ามีต่อสิ่งแวดล้อม แต่เริ่มคาดหวังที่จะเห็นข้อมูลดังกล่าว แต่การให้ตัวเลขปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนของผลิตภัณฑ์ของฉลาก Carbon Footprint เพียงอย่างเดียว อาจไม่สามารถตอบโจทย์ดังกล่าว ได้ เพราะผู้บริโภคยังได้รับข้อมูลในเรื่องดังกล่าวไม่เพียงพอ
ผลจากการสำรวจความเห็นผู้บริโภคในเบลเยียมเป็นตัวอย่างที่ดีที่ ได้มีการสำรวจความเห็นของผู้บริโภคในเบลเยียม โดยนำกระป๋องโค้กที่ติดเครื่องหมาย Carbon Footprint ที่ระบุว่า โค้กกระป๋องหนึ่งปล่อยก๊าซ 170 กรัม มาแสดงให้ผู้บริโภคในห้างร้านต่างๆของเบลเยียมดู และถามว่า คิดว่าโค้กกระป๋องดังกล่าวเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากน้อยเพียงใด พบว่า การติดเครื่องหมาย Carbon Footprint ไม่สามารถให้คำตอบดังกล่าวได้ เช่น ยังมีผู้ไม่ทราบว่าเครื่องหมายรูปเท้าของ Carbon Footprint คืออะไร ทำไมต้องบอกปริมาณก๊าซคาร์บอน เกี่ยวข้องอะไรกับโค้ก (มีผู้สงสัยว่าการดื่มโค้กแล้วทำให้ผู้ดื่มปล่อยก๊าซเช่นนั้นหรือ) แม้ผู้ที่รู้จักเครื่องหมาย Carbon Footprint ก็ไม่สามารถบอกได้ว่า ปริมาณ 170 กรัม ถือว่ามากหรือน้อย และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพียงใด หากเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ในแบบเดียวกันหรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ
บริษัทโคคาโคลาจึงได้ข้อสรุปว่า การติดฉลากแสดงปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่ผลิตภัณฑ์แต่เพียงอย่างเดียว เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสื่อให้เห็นว่าสินค้าของตนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาจเร็วเกินไปสำหรับผู้บริโภคชาวยุโรป ยังต้องมีการประชาสัมพันธ์เครื่องหมายดังกล่าวและให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของปริมาณก๊าซคาร์บอนและสิ่งแวดล้อมให้กว้างขวางมากกว่านี้เสียก่อน บริษัทจึงตัดสินใจที่จะแสดง carbon footprint เฉพาะบนเว็บไซต์ แต่ไม่แสดงบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ และเลือกใช้วิธีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับรูปแบบอื่นๆแทนต่อไป เช่นการจัดโครงการและกิจกรรมต่างๆ เพื่อสร้างความตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม

ผลการทำ Carbon Footprint ชี้ บรรจุภัณฑ์เป็นส่วนที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนมากที่สุด

การทำ Carbon Footprit หาปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนตลอดช่วงชีวิตของผลิตภัณฑ์ของโคคาโคลาที่วางขายในสหราชอาณาจักร นั้นไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์เพียงอย่างเดียว แต่มีจุดประสงค์สำคัญคือ เพื่อหา 'Hotspot' ว่าช่วงชิวิตในการผลิตช่วงใดที่ก่อให้เกิดการผลิตก๊าซคาร์บอนมากที่สุด

การวิจัยพบว่า บรรจุภัณฑ์ เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซ มากที่สุด (ประมาณ 30 - 62%) หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่วางขายในตู้แช่ การแช่เย็นก็ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซมากเช่นเดียวกัน (26%) ส่วนสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบมากนัก คือ การผลิต (หากมีประสิทธิภาพ) การกระจายสินค้า (หากมีการตั้งฐานการผลิตในท้องถิ่น) และการบริโภค

ทั้งหมดนี้ ช่วยให้บริษัทสามารถหามาตรการแก้ไข เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน เช่น การปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ให้มีน้ำหนักเบาขึ้น และเน้นเลือกใช้วัสดุ recycled หรือ reused พร้อมหาทางบริหารจัดการให้ใช้พลังงานในการผลิตมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และใช้พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น renewable fuels ให้มากขึ้น

ที่สำคัญ ทางบริษัทได้พบว่าในกิจกรรมเดียวกัน แต่เกิดขึ้นในประเทศยุโรปคนละประเทศ ก็ก่อให้เกิดปริมาณการปล่อยก๊าซที่แตกต่างกัน เนื่องจากแต่ละประเทศมีแหล่งพลังงานสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า และมีความสามารถในการเก็บขยะและรีไซเคิล ที่แตกต่างกันไป

บริษัทจึงได้ตั้งข้อสังเกตว่า หากทุกฝ่ายให้ความสนใจแต่ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนแต่อย่างเดียว อาจเกิดผลกระทบต่อเนื่องไปถึงสิ่งแวดล้อมด้านอื่นๆ ได้ เช่น ทำให้พลังงานนิวเคลียร์กลายเป็นพลังงานที่ได้รับความนิยม เพราะก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนต่ำ โดยไม่คำนึงถึงความเสี่ยงและผลเสียด้านอื่นๆ และอาจทำให้เกิดการละเลยทรัพยากรอื่นๆ อย่างเช่น น้ำ ได้ ที่สำคัญ อาจก่อให้เกิดสภาวะที่บริษัทใหญ่ๆ เน้นลงทุนหรือย้ายฐานการผลิตมายังประเทศที่สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานมีปัจจัยเอื้ออำนวยให้มีการปล่อยก๊าซได้ต่ำ โดยไม่คำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น การขนส่ง (ซึ่งก็ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนเช่นเดียวกัน ) และอาจทำให้บริษัทเล็กๆที่ตั้งอยู่ในประเทศที่ตั้งอยู่ในประเทศที่มีสภาวะปัจจัยที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซสูงเสียเปรียบได้

สรุปจากการบรรยาย Carbon Footprint and Packaging โดยนาย Ulrike Sapiro ผู้แทนของบริษัทโคคาโคลา ในงาน สัมมนา Beyond Compliance จัดที่กรุงบรัสเซลส์ เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 52 โดยองค์กร EUROPEN

Re: Carbon foot print บนกระป๋องCoca Cola

โพสต์โพสต์แล้ว: อังคาร ก.พ. 02, 2010 11:29 am
โดย chatchai
12 มกราคม 2533
บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด ผู้จำหน่าย โค้ก,แฟนต้า สไปร์ท มินิทเมด และ น้ำทิพย์ ลงนามสัญญากับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เพื่ออนุญาตให้ใช้ Carbon foot print Label บนผลิตภัณฑ์โค้กกระป๋องขนาด 325 CC หลังจากที่บริษัทผ่านการประเมินการปลดปล่อยและวัฏจักรชีวิตของก๊าซเรือนกระจกของสินค้าและการบริการ ประเมินโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติประเทศไทย



รูปภาพ

Re: Carbon foot print บนกระป๋องCoca Cola

โพสต์โพสต์แล้ว: อังคาร ก.พ. 02, 2010 10:51 pm
โดย arale
^+ เยี่ยมเลยครับ..จะมีกระป๋องใหม่ มาให้เก็บอีกแล้ว... !) ......... !& ......... @(

Re: Carbon foot print บนกระป๋องCoca Cola

โพสต์โพสต์แล้ว: อังคาร ก.พ. 02, 2010 11:12 pm
โดย art
แจ่มเลยคร้าบ !)