โชคดีมากที่ technology เดินทางมาถึงจุดที่ไม่มีพรมแดนจิงๆ มีอุปกรณ์ช่วยเรื่องข้อมูลและภาษามากขึ้น ทำให้พอคลำๆทางไปได้บ้างครับ

อีกอย่าง google และ google translate ช่วยได้มาก มากๆ
ไม่งั้นก็คงงมเหมือนเดิม
ผมชอบภาษาของท่าน kandahar มากๆครับ ได้อารมณ์ retro จิงๆ
ขอบคุณครับ
หลังจากอ่านข้อมูลของท่าน kandahar มาเย๊อะ ผมก็ขอให้ข้อมูลที่ได้อ่านจากเวบต่างๆมาเพื่อเป็นการแลกเปลื่อนนะครับ
ศิลปะการดื่มชา เป็นการรวมตัวกันของ ดิน น้ำ ลม ไฟ อย่างพอดิบพอดี จนทำให้น้ำชาออกมาได้รสชาติที่ดีที่สุด
คุยเรื่องดินกันก่อนเลยแล้วกันครับ เพราะมันเป็นพื้นฐานของปั้นชา และมีผลกับรสชาตชาที่ชงออกมา มากกว่าศิลปินคนปั้นอีก
ดิน Zhuni จูหนี
ดิน จูหนี หรือดินแดง (จิงๆ น่าจะเป็นโคลนแดงมากกว่า) เป็นดินที่มีแร่เหล็กสูง และเมื่อเหล็กเกิด oxide หรือง่ายๆก็คือเป็นสนิม มันก็กลายเป็นสีแดงจนทำให้เนื้อดิน มีสีตามสนิมเหล็ก ดังนั้น ดินยิ่งแดงก็แปลว่ามีแร่เหล็กมาก ดินจูหนีเดิมทีพบในเมืองอี้ชิง Yi Xing
และมีการขุดมาใช้มากจนรัฐบาลจีนกลัวจะหมดประเทศ จึงสั่งปิดเหมืองดิน จูหนีทั้งหมดใน อี้ชิงและบริเวณไกล้เคียง หลังจากนั้น ก็มีการขุดที่อื่นและได้พบดิน จูหนี ในอีกหลายที่ ทั้งในจีน ญี่ปุ่น ใต้หวัน เกาหลี จนเป็นเหตุให้ต้องตั้งชื่อ ตามสถานที่พบ เช่น
Yi xing zhuni, Chao Zhuo zhuni รวมถึง ดิน ต้าหงเผา ซึ่งก็เป็นจูหนีชนิดนึงซึ่งพบใน Jiangsu ไกล้ Yi xing ด้วย
และดินต้าหงเผา เป็นดินที่หายาก กว่าจูหนีตัวอื่นๆด้วยครับ
แม้แต่ในญี่ปุ่นก็มี kyusu (ปั้นชาแบบญี่ปุ่น) ที่บอกว่าเป็น zhuni เช่นกัน
เมื่อช่างปั้นต่างรู้เรื่องแร่เหล็กในดินนี้ ก็เลยมีการผสมผงเหล็ก ลงในดิน แล้วหมักไว้เป็นสิบๆปีก่อนนำมาปั้นเป็นปั้นชา แบบสูตรใครก็สูตรมัน จนเป็น ตระกูลดังๆหลายตระกูล 5555 เดี๋ยวนี้ศิลปินปั้นชา มากันเป็นตระกูลแล้วครับ ไม่ใช่เป็นคนๆแบบเมื่อก่อน
แล้วทำไมต้องมีเหล็กอยู่ในดิน

แร่เหล็กจะมีคุณสมบัติในการเก็บความร้อนได้ดี จึงช่วยให้เวลาชง ความร้อนจะค่อยๆคลายออกมา แล้วเข้าไปในใบชา ดึงความอร่อย รสชาติ กลิ่น ของใบชาออกมา ให้เราได้ลิ้มรสกัน
สูตรการเลือกปั้นให้เหมาะกับชา ก็ง่ายๆ อย่างแรกคือ ชาแถวไหน ให้หาปั้นชาที่ใช้ดินแถวนั้นมาชง
เช่นชา Dan Cong ของ แต้จิ๋ว ก็ต้องหา ปั้น Chao Zhou Zhuni มาชง ไม่งั้นรส ปุแร่มปุแร่ม แน่นอน 5555
ชาหอม อย่าง หลงจิ่ง อู่หลง ทิกวนอิมแบบขั่วเร็ว ก็ต้องหาปั้นบางๆ สูงๆ ชง เพื่อไม่ให้ร้อนเกินจนทำให้กลิ่นจางไป
ช่วนชาคอ อย่างพวก สุ่ยเซียน ต้าหงเผา ก็ต้องหาแบบหนาๆนิดนึง เพื่อให้ความร้อนไปดึงรสชาติออกมา
ปั้นถูกใช่ว่าไม่ดี
ผมเคยทำ AB Test โดยใช้ปั้นสองใบ ขนาดเท่าๆกันชงชาอันเดียวกันแล้วชิม ปรากฎว่า อันถูกอร่อยกว่า

อันนี้ผมเขียนเป็น blog ไว้ครับ ลองอ่านเล่นๆดูครับ
http://pu-photo.spaces.live.com/blog/cn ... 6941.entry
แล้วเคยไปเทียบกับเพื่อน โดยเอาปั้นมาคนละใบ (แน่นอน แต่ละคนเอาตัวเจ๋งที่มีมากันเลย 555)
แล้วชงต้าหงเผา มันให้รสชาติที่แตกต่างกันชัดเจนมากๆ
ปั้นทั้งสองใบที่ใช้เทสเป็น yi xing zhuni กับ chao zhou zhuni
โดย yi xing ให้รสที่ดุดัน กลิ่นหอมแรง และมี after taste นาน แต่ chao zhou zhuni ให้รสชาติที่นุ่มละมุนกลมกล่อม กลืนง่าย และให้ความรู้สึกเบากว่า
เราสรุปกันว่า ต้าหงเผาตัวนี้เหมาะกับ chao zhou zhuni มากกว่า
ดังนั้น ปั้น ที่มีจุดประสงเพื่อการชงชาให้อร่อย ไม่จำเป็นต้องเป็นปั้นแพงเสมอไปครับ
แต่ผมไม่เคยชิมชาจากปั้นที่แพงจัดๆ อย่างของท่าน kandahar นะครับ
ไว้จะมาเพิ่มเติม เรื่อง อุณภูมิในการเผาปั้น ซึ่งก็มีผลอีกเช่นกันครับ
ปล อย่าส่งปั้นมาให้ผมดูนะครับว่าเป็นดินอะไร ผมไม่เก่งขนาดนั้นครับ

ขอบคุณครับ